ไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว






          



   ข้าพเจ้าเป็นลูกหลานของชาวไทยพวน ที่อาศัยอยู่ในตำบลหาดเสี้ยว  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย มีความรักและผูกพันต่อความเป็นคนพวน ใช้ชีวิตเติบโตอยู่ในถิ่นบ้านเกิดตั้งแต่เล็กจนถึงปัจจุบัน โชคชะตาและวิถีชีวิตไม่เคยจากถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอน  จึงได้สัมผัส ได้รู้ ได้เห็น วิถีชีวิตของบรรพบุรุษและได้เห็นความเปลี่ยนแปลงและความถดถอยทางวัฒนธรรมที่ ดีงาม ตลอดจนวิถีชีวิตตามความเชื่อ ความศรัทธาหลายอย่างได้สูญหายไปกับกาลเวลา นั่นด้วยเหตุผล     ที่เกิดจากความเจริญด้านความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์จึงทำให้ความเชื่อหลาย อย่างถูกลดบทบาทลงไปในสังคมปัจจุบัน แต่วิถีชีวิตและวัฒนธรรมทางประเพณีที่ดีงาม ที่แสดงถึงจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แสดงถึงความรัก ความสามัคคีที่กำลังสูญหายไปในสังคมยุค “ปริโภคนิยม”  ขณะนี้  อาจมาด้วยสาเหตุจากความแปรผันด้านเศรษฐกิจที่ยึดถือ “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตที่สามารถบันดาลทุกสิ่งให้กับมนุษย์  สิ่งต่างๆ ที่กำลังแปรเปลี่ยนไปบางครั้งก็ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงโดยมิอาจหลีก เลี่ยงได้   
          ข้าพเจ้าต้องการถ่ายทอดวิถีชีวิตที่ดีงามของชาวไทยพวนบ้านหาด เสี้ยวให้กับอนุชนรุ่นหลัง โดยการเรียบเรียงเนื้อหา ประวัติความเป็นมาของชาวไทยพวนฯ จากหนังสือของท่าน พันเอกวิเชียร  วงศ์วิเศษ ซึ่งในขณะนั้นท่านอายุ 70 ปีกว่าแล้ว (พ.ศ. 2517)  หนังสือเล่มนี้ เมื่อนับมาถึง พ.ศ. 2550 ในเวลาที่ข้าพเจ้าเรียบเรียงข้อมูลใหม่นี้  
นับเวลาได้ถึง 33  ปีแล้ว
          ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  ลูกหลานของชาวไทยพวน จะช่วยกันรักษาวัฒนธรรมที่ดีงามสืบต่อไป และภูมิใจในความเป็นคนพวน
                                                                                           


   ชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ในสมัยโบราณส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตร ยึดความพอเพียงเป็นหลัก มีอาชีพการทำนาเป็นส่วนใหญ่ สำหรับอาชีพทำไร่ ทำสวนนั้น ทำเพื่อไว้เลี้ยงชีวิต พอกินพอใช้เท่านั้น และจับปลาตามลำห้วย หนอง และแม่น้ำยมเป็นหลัก เมื่อเสร็จสิ้นจากการทำนา ผู้หญิงทุกครัวเรือนจะทอผ้าใช้เอง ผู้ชายจะ     ตีเหล็กเพื่อทำมีดพล้า และเครื่องใช้ที่จำเป็น มีสำนวนที่พูดกันติดปากว่า เมื่อหมดหน้านา "ผู้หญิงทอผ้าชายตีเหล็ก” จะเห็นได้จากสภาพของความเป็นอยู่ว่า ใต้ถุนของชาวไทยพวน      ทุกบ้านนั้น ส่วนหนึ่งจะเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับทอผ้า เช่น ใต้ถุนเรือนใหญ่จะมีกี่    ทอผ้า สำหรับหารตีเหล็กของผู้ชายนั้น มักจะทำห้างตีกันนอกชายคา ในปัจจุบันสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ด้านการตีเหล็กได้หายไปจากวิถีชีวิตไปแล้ว ยังคงมีร่องรอยของเครื่องมือให้เห็นกันอยู่ สำหรับการทอผ้ายังมีให้เห็นกันอยู่ แต่ไม่มากนัก เพราะประชากรส่วนใหญ่หันไปประกอบอาชีพอื่นๆ ตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม และการทอผ้ายังคงใช้หลักการทอด้วยมือเหมือนเดิม ไม่มีการพัฒนาให้ทันสมัยเพื่อเพิ่มปริมาณ แต่จะเพิ่มปริมาณผ้าทอด้วยการเผยแพร่งานทอผ้า สู่หมู่บ้านอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง


 บ้านเรือนของชาวไทยพวนหลังคาทรงมะลิลาหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ไม้เครื่องบนผูกด้วยหวาย ถ้า   เจ้าบ้านฐานะดีจะใช้ตะปูที่ทำขึ้นเอง  จากการนำบ่อเหล็กที่ภูเขาแห่งหนึ่งที่อยู่หลังวัดบ้านใหม่ออกไป     เรียกว่า ภูบ่อเหล็ก  หลังคาส่วนใหญ่มุงจาก ถ้าเจ้าบ้านมีฐานนะดี จะมุงด้วยกระเบื้องไม้ ที่เรียกว่า      
แป้นเกล็ด หรือมุงด้วยกระเบื้องดินเผาบ้าง  ส่วนพื้นใช้ไม้กระดาน ผู้ยากจนใช้ไม้ไผ่สีสุกสับแผ่ออก     เป็นแผ่น เรียกว่า ฟาก  บ้านทุกบ้าน เป็นใต้ถุนสูง ใต้ถุนเรือนใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำคอก   วัวคอกควายบ้าง ทำเล้าเป็ดเล้าไก่บ้าง ตั้งเครื่องสำหรับทอหูกทอผ้าบ้าง เครื่องทอหูกเรียกว่า กี่ บ้าน  ส่วนใหญจะมีห้องเพียงห้องเดียวเพื่อใช้เก็บของมีค่า มีชานบ้านยื่นจากตัวเรือนอกไปทางทิศตะวันตก      บันไดพาดทาง ทิศเหนือ  มีการสร้างที่วางน้ำดื่ม เรียกว่า ฮ้านน้ำ และยุ้งข้าวแยกออกจากตัวเรือนไป   ทางทิศตะวันตก                                                                                                               

          จาก การศึกษาประวัติศาสตร์พบว่าชนชาติไทยเรานั้นมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในตอนใต้ของ ประเทศจีน  แล้วได้ถอยร่นลงมาโดยลำดับตามเหตุการณ์ต่าง ๆ  จนกระทั่งได้มาตั้งอยู่  ณ  ที่อยู่ในปัจจุบัน  ชาวไทยพวนก็เป็นคนไทยสาขาหนึ่ง  ดังข้อความในหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  เล่ม  ๑  หน้า  ๒๙๕  ซึ่งคุณถวิล  เกสรราช  นำมาลงไว้ในหนังสือประวัติผู้ไทยตอนหนึ่งมีข้อความว่า  “ชนชาติต่าง ๆ  ที่อยู่อาศัยในประเทศไทยปัจจุบันนี้นอกจากชาวไทยแล้ว  ยังมีคนไทยสาขาอื่น ๆ  อีกหลายสาขา  เช่นผู้ไทย  พวน  และโซ่ง  ซึ่งเป็นคนไทยสาขาหนึ่ง  เดิมผู้ไทย  พวน  และโซ่ง  มีถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งแม่น้ำโขงในประเทศลาว  ทางแขวนชำเหนือ  (หัวพันทั้งห้าทั้งหมด)  และแขวงเชียงขวาง  พวกผู้ใหญ่มีอยู่ทางภาคอีสาน  มีจังหวัดสกลนคร  และนครพนมเป็นต้น  ส่วนพวกพวน  และพวกโซ่งมีอยู่กระจัดกระจายเป็นแห่ง ๆ  ทางภาคกลางมีจังหวัดสุโขทัย  จังหวัดลพบุรี  จังหวัดราชบุรี  จังหวัดเพชรบุรี  และจังหวัดกาญจนบุรี  เป็นต้น  ไทยทั้ง  ๓  พวกนี้มีลักษณะทางภาษาใกล้เคียงกันมาก  แทบจะกล่าวได้อย่างกว้าง  ๆ  ว่า  เป็นภาษาไทยภาษาเดียว”
           แม้ชาวไทยพวนเอง  เรียกพวกบ้านเดียวกันหรือต่างบ้าน  ก็จะมีคำว่า  “ไทย”  กำกับด้วยเสมอ  คล้ายกับประกาศพวกตนเองว่าเป็นคนไทย  เช่นไทยบ้านเหนือ  ไทยบ้านกลาง  ไทยบ้านใต้  ไทยบ้านหาดสูง  ไทยบ้านใหม่  ไทยบ้านแม่ราก  และก็เรียกคนต่างถิ่นว่าเป็นไทยด้วย  เช่นถ้าพบคนต่างถิ่น  เมื่อต้องการทราบว่าเป็นคนบ้านไหน  ก็จะถามว่าเป็นคนบ้านไหน  (ภาษาไทยพวนว่า  เจ้าเป็นไทยบ้านเลอ)  ดังนั้น  จึงเข้าใจว่าชาวไทยพวนคงจะมีถิ่นฐานเดิมรวมอยู่  ณ  ที่แห่งเดียวกันนั้นด้วย  แต่ข้าพเจ้าจะมากล่าวถึงถิ่นฐานเดิมของชาวไทยพวนในตอนนี้  เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องที่ต้องกล่าวยืดยาวมากแล้ว  ในประวัติศาสตร์ก็ยังไม่ได้แยกชื่อคนไทยสาขาต่าง  ๆ  เช่นอย่างในปัจจุบันนี้ไว้ด้วย  เป็นการยากแก่การสันนิษฐานว่า  ชนชาติไทยจำพวกไหนเป็นชาวไทย  และในสมัยก่อนนั้นคำว่า  “พวน”  ซึ่งเป็นชื่อเรียกคนไทยสาขาหนึ่งก็ยังไม่มี  ดูเหมือนจะมาปรากฏมีขึ้นในสมัยเมื่อคนไทยจำพวกหนึ่ง  ได้อพยพมาตั้งอยู่ในดินแดนของประเทศลาว  ในปัจจุบันนี้เรียกว่าเมืองพวนแขวงเมืองเชียงขวาง  มีหลักฐานปรากฏอยู่ในหนังสือต่าง  ๆ  หลายฉบับ  เช่น  ประชุมพงศาวดาร  ภาคที่  ๑๑  และพงศาวดาร  ล้านช้าง  มีข้อความตรงกัน  และในหนังสือตำนานเมืองสวรรคโลกของพระมุนินทรานุวัตต์  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  (วัดพระปรางค์)  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย  ซึ่งท่านได้ค้นคว้าจาหนังสือต่าง  ๆ  มาเรียบเรียงไว้  ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ด้วย  ก็มีข้อความตรงกันว่าพระโอรสองค์ที่  ๓  ของขุนบรมลงมาสร้างเมืองแถงหรือเมืองแถน  (เตียนเบียนฟู)  เพื่อจะขยายอาณาเขตของหนองแสให้กว้างใหญ่ไพศาล  จึงได้จัดส่งพระโอรส  ๗  องค์  ไปสร้างเมืองต่าง  ๆ  ได้สร้างพระโอรสองค์ที่  ๗  พระนามว่า  ขุนเจ็ดเจืองไปสร้างเมืองพวน  (เมืองเชียงขวาง)  เป็นอันได้เค้าเงื่อนแล้วคำว่า  “พวน”  ได้ปรากฏมีขึ้นในสมัยเมื่อขุนบรมครองเมืองหนองแส  เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่าพระโอรสของขุนบรม  ๗  องค์ซึ่งไปสร้างเมืองต่าง  ๆ  นั้น  คือเมืองอะไรบ้าง  จึงขอนำเอาเรื่องขุนบรมซึ่งพระมนินทรานุวัตต์กล่าวไว้ในหนังสือตำนานเมือง สวรรคโลกไว้โดยย่อ  ๆ  ดังต่อไปนี้
          เมื่อ  พ.ศ.  ๑๒๗๒  ขุนบรมได้เสวยราชเมืองหนองแสเป็นราชกาลที่  ๔  เมื่อ  พ.ศ.  ๑๒๗๔  ได้สร้างเมืองแถง  (ใน  ๑๒  จุไทย)  ขึ้นเป็นราชธานี  ได้ขยายเขตปกครองกว้างขวางออกไปอีก  พ.ศ.   ๑๒๘๐  ให้พระโอรสไปสร้างเมืองต่าง  ๆ 
  1. คนที่  ๑  ชื่อขุนลอ  ไปสร้างเมืองชะวา  หลวงพระบาง  -  เช่า
  2. คนที่  ๒  ชื่อขุนยี่ผาลาน  ไปสร้างเมืองหอแต  คือสิบสองปันนา
  3. คนที่  ๓  ชื่อขุนสามจูสง  ไปสร้างเมืองประคันเหนือ  ตังเกี๋ย  คือหัวพันทั้งห้าทั้งหก
  4. คนที่  ๔  ชื่อขุนไสผง  ไปสร้างเมืองสุวรรณโคมคำร้าง
  5. คนที่ ๕  ชื่อขุนวังอิน  ไปสร้างโยธา  คือสุโขทัย
  6. คนที่  ๖  ชื่อขุนลกกลม  ไปสร้างเมืองมอญคือหงสาวดี  -  อินทปัต
  7. คนที่  ๗ ชื่อขุนเจ็ดจิเอง  ไปสร้างเมืองเชียงขวาง  คือเมืองพวน”
ส่วน พงศวาดารอีก  ๒  ฉบับ  ตาที่ข้าพเจ้ากล่าวอ้างมาข้างต้นนั้น  ชื่อเมืองต่าง  ๆ  พระโอรสทั้ง  ๗  องค์ไปสร้าง  มีต่างกันอยู่บ้าง  เห็นสมควรนำมากล่าวไว้ด้วย  เพื่อท่านผู้อ่านจะได้ทราบและพิจารณาดังต่อไปนี้
ประชุมพงศวาดาร  ครั้งที่  ๑๑
  1. องค์ที่  ๑  ขุนลอ  ไปสร้างเมืองชะวา  (เมืองหลวงพระบาง)
  2. องค์ที่  ๒  ขุนยี่ผาลาน  ไปสร้างเมืองปะกึง
  3. องค์ที่  ๓  ขุนสามจูสง  ไปสร้างเมืองบัวชุม
  4. องค์ที่  ๔  ขุนไสผง  ไปสร้างเมืองหงสา
  5. องค์ที่  ๕  ขุนวังอิน  ไปสร้างเมืองอโยธา
  6. องค์ที่  ๖  ชื่อขุนลกกลม  ไปสร้างเมืองอินทปัต
  7. องค์ที่  ๗  ชื่อขุนเจ็ดเจือง  ไปสร้างเมืองเชียงขวาง
พงศวาดารล้านช้าง
  1. องค์ที่  ๑  ขุนลอ  ไปสร้างเมือง  ชะวา
  2. องค์ที่  ๒  ขุนยี่ผาลาน  ไปสร้างเมืองหอแต
  3. องค์ที่  ๓  ขุนสามจูสง  ไปสร้างเมืองแกวของบัวชุม
  4. องค์ที่  ๔  ขุนไสผง  ไปสร้างเมืองยวนโยนก
  5. องค์ที่  ๕  ขุนวังอิน  ไปสร้างเมืองใต้  อโยธา
  6. องค์ที่  ๖  ขุนลกกลม  ไปสร้างเมืองเชียงกม
  7. องค์ที่  ๗  ขุดเจ็ดเจือง  ไปสร้างเมืองพวน
เมือ พระโอรสทั้ง  ๗  องค์จะเสด็จออกไปจากเมือง  ตามพระราชดำรัสสั่งของพระบิดา  ได้ทรงรับสั่งกับชาวเมือง  ซึ่งท่านได้แต่งเป็นคำโคลงสำเนียงชาวล้านช้าง  ดังต่อไปนี้
1. ขุนลอ  เอิ้นสั่งชาวเมืองว่า
ปู่เยอแถนถ่องบ้าน                      เลาปา
จักจากเจียรไกลตา                      ก่อนแล้ว
สิ่งโสมสอดโสภา                           แพงโพด  พุ้นพี่
ขอให้พี่บุญแผ้ว                            แผ่นพื้นนครชะวา  (หลวงพระบาง)
2. ขุนยี่ผาลาน  เอิ้นสั่งว่า
ปู่เยอนามอนน้อย                        แถนแถง
เฮียมจักจากจอมทอง                    พรากข้าง
จักเดินผายผันแสวง                    ชมเพื่อน  พุ้นพี่
ไปแต่งบ้านเมืองกว้าง                  แห่งห้องหอแต  (หนองแส)

3. ขุนสามจูสง  เอิ้นสั่งว่า
  ปู่เยอแม่นบ่อนบ้าน                   บูรี
จักจากไปจุละนี                           ก่อนแล้ว
สมภาพพี่ยังมี                              เมื่อข่ม   เขาพุ้น
องค์อาชญ์ขึ้นปรางค์แก้ว              โกศแท้แท่นบัว  (อานามแกวปะกันภูเหิด)

4. ขุนไสผง  เอิ้นสั่งว่า
ปู่เยอน้ำเต้าปุง                            เติมตน
จักจากไปเดินหน                        ห่งหั้น
โดยคลองพี่ทางชน                       เชียงใหม่
บุญหากมีดังนั้น                           อาจสร้างเสวยเมือง  (ลานนา)

5. ขุนวังอิน  เอิ้นสั่งว่า
ปู่เยอ  พระพ่อเจ้า                         บูลม  -  ลุกเอย
ลูกเกิดมาสายสม                           สืบเชื้อ
จักจากเจียมจอมชม                      ชาวอิน  ละพ่อ
ไปเสพสุขเสวยเกื้อ                       เกิดก้ำอโยธา (สยาม)

6. ขุนลกกลม  เอิ้นสั่งว่า
ปู่เยอแม่นชาติเชื้อ                      ชาวแภง
ลูกเกิดมามีเผือแฝง                     ฝ่ายข้าง
จักไปสืบปูนแปลง                        เป็นเพื่อน  ภายพุ้น
เอดหมู่มวนเมืองกว้าง                  เกิดก้ำเชียงคม  (คำเกิด)

7. ส่วนขุนเจ็ดเจือง นั้น  ในพงศาวดารลานช้างบ่ปรากฏมีคำโคลงเอิ้นสั่ง  มีแต่คำสั่งของขุนมูลมว่า  ยอสามเจ็ดเจือง  ให้ไปสร้างเมืองพวนท่อนั้น
          เรื่องขุนบรม  ส่งพระโอรสไปสร้างเมืองนี้  เป็นเรื่องที่น่าพิจารณาหาความรู้อย่างหนึ่งคือ  พระโอรสทั้ง  ๗  องค์  ที่ไปสร้างเมืองนั้น  ไปหักร้างถางพงสร้างบ้านสร้างเรือนขึ้นเอง  หรือเพียงไปปกครองบ้านเมืองซึ่งมีอยู่แล้ว  แต่ขาดผู้ปกครองที่สามารถ  หรือยกกองทัพไปตีบ้านตีเมืองอื่น  เพราะมีบางเมืองที่ทำให้น่าพิจารณาเช่นนั้น  เช่นเมืองตอแห  (หนองแส)  ก็เป็นเมืองที่ขุนบรมเสวยราชอยู่ก่อนแล้ว  แต่ได้ลงไปสร้างเมืองแถงขึ้นเป็นราชธานี  เมืองหนองแสก็ขาดผู้ปกครอง  หรืออาจจะเป็นเมืองร้างก็ได้
           เป็นที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง  คือเมื่อพิจารณาวาในพงศาวดาร  เฉพาะที่กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับเมืองพวน  รู้สึกว่าเมืองพวนจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญเมืองหนึ่ง  ทั้งนี้เข้าใจว่าเมืองพวนจะเป็นเมืองใหญ่  มีชาวไทยพวนตั้งถิ่นฐานอยู่มาก  หรือจะเป็นนโยบายในทางการปกครองก็อาจเป็นไปได้  จึงได้ยกเอาชื่อเมืองพวนขึ้นเป็นชื่อตำแหน่งผู้ปกครอง  เหมือนอย่างเอาชื่อเมืองสำคัญเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑล  และเอาชื่อเมืองเป็นชื่อตำแหน่งผู้ปกครองมณฑล  เช่นมณฑลอยุธยา  ชื่อตำแหน่งผู้ปกครอง  เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา  มณฑลนครสวรรค์  เป็นสมุหเทศาภิบาลนครสวรรค์  เป็นต้น  เรื่องของเมืองพวนมีปรากฏอยู่ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน  ซึ่งหม่อมราชวงศ์วิจิตรเรียบเรียงไว้รวมอยู่ในประชุมพงศาวดารภาค  ๔  คุณถวิล  เกสรราช  ได้กล่าวถึงการยกบ้านขึ้นเป็นเมือง  การตั้งและเปลี่ยนหัวเมืองกรมการเมือง  และได้คัดเอามาลงไว้  ในหนังสือประวัติผู้ไทย  ข้าพเจ้าอนุญาตคัดเฉพาะที่มีเรื่องเกี่ยวกับเมืองพวนมาลงไว้  ฯ  ที่นี้ด้วย  ดังต่อไปนี้
           ลุ  รัตนโกสินทร  ศก  ๑๑๐  (พ.ศ.๒๔๓๔)  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่  ๕)  ทรงพระราชปรารภว่า  ฯลฯ  จะได้เป็นความสุขสมบูรณ์แก่ผู้คนภายนอกในพระราชอาณาเขตอันจะได้มาค้าขายได้ โดยสำเร็จสะดวกสืบไป
          จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า  ฯ  ให้  ฯลฯ  ให้พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม  เป็นข้าหลวงใหญ่พร้อมด้วยข้าราชการทหาร  พลเรือน  ตั้งอยู่เมืองหนองคายกองหนึ่งให้เรียกว่าข้าหลวงใหญ่หัวเมืองหัวเมืองลาว พวนฯลฯ
          ให้เมืองหนองคาย  เมืองเชียงขวาง  เมืองบริคัณหนิคม  เมืองโพนพิสัย  เมืองนครพนม  เมืองท่าอุเทน  เมืองชัยบุรี  เมืองสกลนคร  เมืองมุกดาหาร  เมืองขอนแก่น  เมืองหล่มสัก  เมืองใหญ่  ๑๓  เมืองขึ้น  ๓๖  อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวง  หัวเมืองลาวพวน”
           สรุปว่า  ถิ่นฐานเดิมของชาวไทยพวน  ปัจจุบันนี้  คือเมืองพวนแขวงเมืองเชียงขวาง  ในประเทศลาว  ขุนเจ็ดเจืองเป็นผู้สร้าง  สร้างมาแล้วเป็นเวลาประมาณ  ๑๒๓๔  ปี  หากผิดพลาดก็ขออภัยท่านผู้อ่านด้วย  ถ้าจะกรุณาแจ้งชื่อเมือง  และชื่อผู้สร้างที่ถูกต้องให้ทราบ  ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง  ฯ

 ชาวไทยพวนที่อยู่ในเมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวางในประเทศลาว  ได้อพยพมาอยู่ในประเทศไทย  เนื่องด้วยเหตุผลหลายอย่าง ตามที่หลักฐานปรากฏในพงศาวดาร และตามที่เล่าสืบต่อกันมาว่า  เพราะบ้านเมืองเกิดศึกสงครามอพยพหลบนี้ภัยสงครามเข้ามาบ้าง  เข้าทำนองว่าหนีร้อนมาพึ่งเย็น  ูกกวาดต้อนเข้ามาเพราะบ้านเมืองแพ้ศึกสงครามบ้าง  ผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ไปเกลี้ยกล่อมให้อพยพเข้ามาบ้าง  อพยพมาด้วยความสมัครใจ เพื่อมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในประเทศไทยบ้าง  และในการอพยพ
มานั้น  เข้าใจว่าคงจะอพยพเข้ามาพร้อมกับชาวไทยสาขาอื่นๆ  ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ที่เมืองพวนด้วยกัน  แต่มีชื่อเรียกต่างกันและเป็นไทยสาขาเดียวกัน  เช่น ผู้ไทยและโซ้ง ดังนั้นการอพยพมาประเทศไทยแต่ละครั้งละคราว ตามหลักฐาน ที่นำมากล่าวต่อไปนี้ จึงไม่ใช่เฉพาะแต่ชาวไทยพวนจำพวกเดียวเท่านั้นต้อง อพยพร่วมกับ
ชาวไทยสาขาอื่น ๆ ด้วยหากตั้งหัวข้อเรื่องว่า  ชาวไทยอพยพจากประเทศลาว  ก็จะเป็นเรื่องกว้างมากเกินขอบเขตของเรื่องที่ข้าพเจ้าเขียนเพื่อให้สมกับ เรื่องที่เขียน  จึงได้ตั้งหัวข้อเรื่องเช่นนั้นและหลักฐานที่จะมากล่าวต่อไปนี้  ข้าพเจ้าคัดจากหนังสือประวัติศาสตร์ผู้ใหญ่ซึ่งคุณถวิล  เกสรราช  เป็นผู้เรียบเรียง  จะหาว่าข้าพเจ้าเป็นคนมักง่ายรวบรวมและเรียบเรียงหนังสือทั้งที  ก็น่าจะค้นคว้าให้ละเอียดลออ ไม่ควรจะทำตนเป็นคนสุกเอาเผากิน ข้าพเจ้าขอยอม รับว่าเป็นความจริงดังข้อกล่าวหา 
เพราะเวลานี้  ข้าพเจ้ามีอายุมากแล้วอยู่ในปูนที่เรียกว่าคนแก่  ถ้ามัวแต่จะมางุ่มง่ามไปค้นคว้าอยู่ก็ไม่แน่ใจว่าหนังสือเรื่องนี้จะปรากฏ เป็นรูปเล่มขึ้นมาอย่างที่ท่านถืออยู่นี้หรือไม่  เพื่อให้รวดเร็วขึ้นจึงขอนำหลักฐานของคุณถวิล  เกสรราช  ซึ่งท่านได้ค้นคว้ามาดีแล้ว  เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องที่ข้าพเจ้าเขียนมากล่าวไว้  และ  พล.ต.ปุ่น  วงศ์วิเศษ  ได้ขออนุญาตจากผู้เรียบเรียงเรียบร้อยแล้วหักฐานการอพยพ  มีดังต่อไปนี้
        พ.ศ.  ๒๓๒๑ – ๒๓๒๒ อพยพมาตั้งอยู่ที่จังหวัดราชบุรี – เพชรบุรี - สระบุรี – จันทบุรี
        ครั้นเดือนอ้าย ปีจอ สัมฤทธิราช ๑๑๔๐ (พ.ศ.  ๒๓๒๑)  เจ้าพระสุรีห์พิษณวาธิราช  ยกกองทัพกรุงธนบุรีออกไปหมื่นหนึ่งถึงเมืองบรรทายเพชร  แจ้งความแก่สมเด็จพระบรมราชาว่า  จะขึ้นไปตีเมืองลาวลำแม่น้ำโขง  ตลอดไปถึงเมืองเวียงจันทร์ขอไพร่พลหนึ่งหมื่นกับเสบียงอาหารด้วย  สมเด็จพระบรมราชาให้เกณฑ์คนเมืองกะพงสวาย  เมืองศรีสมุทร  เมืองตะบงตะมุม  รวมคนได้หนึ่งหมื่นเจ้าพระยาสุรีห์พิษณวาธิราช  ยกทัพไปเมืองทะเลธมถึงเมืองสัมมุก  สมบูรณ์  ฝ่ายสมเด็จพระบรมราชาให้พระยาพระคลังชื่อธรรม  ไปตั้งกองสีข้าวสารส่งกองทัพอยู่ที่เมืองกะพงธม  เมืองกระพงสวยเฆี่ยนตีเร่งรัดให้สีข้าวสารทั้งผู้ชายและผู้หญิง  ลางคนผัวทัพก็ต้องสีข้าว  ราษฏรรับความเดือดร้อน  พวกเขมรที่ไปทัพแจ้งดังนั้น  ก็หนีมาหาครอบครัวเป็นอันมาก  สมเด็จพระบรมราชาได้ทราบข่าวว่าเขมรหนีตาทัพกลับมา  ก็แต่งให้ข้าหลวงเที่ยวจับตัวมาทำโทษราษฏรก็คุมกันเข้าจับข้าหลวงกับพระยา พระคลังฆ่าเสีย  แล้วสมเด็จพระบรมราชาให้ไปเอาตัวพระยาเดโช  ชื่อแทน  พระยาแสนทองฟ้าชื่อเบียง  พระยามนต์เสน่หาชื่อใส  ซึงหนีตาทัพนั้นมาเมืองบรรทายเพชร  ให้ฆ่าพระยามนตรีหาเสีย  แต่พระแสนท้องฟ้าน้องพระยาเดโชนั้นให้เฆี่ยน  ๕๐  ที  ถอดจากที่  พระยาเดโชนั้นให้คงที่อยู่ตามเดิมแล้วให้คืนไปอยู่เมืองกะพงสวายดังกล่าว
           ในจุลศักราช  ๑๑๔๑  ปีกุลเอกศก  (พ.ศ.๒๓๒๒)  พระยาเดโช  (แทน)  พระยาแสนฟ้าผู้น้องอพยพครอบครัวหนีไปอยู่แดนเมืองญวน  กองทัพสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราชเมือง ล้านช้างได้แล้ว  ให้เก็บสิ่งของปืนใหญ่น้อยครอบครัวเข้ามรณะเมืองมอญกันพร้อม
แล้วให้กองทัพเมืองหลวงพระบางไปตีเมืองทันต์  ญวนเรียกว่าเมืองซือหงี  เมืองม่วยสองเมืองนี้เป็นลาวทรงดำ  (ผู้ไทยดำ)  อยู่ริมเขตแดนเมืองญวน  ได้ครอบครัวลาวทรงดำลงมาเป็นอันมาก  พาครอบครัวลาวเวียง  ลางทรงดำมาถึงกรุงในเดือนยี่ปีกุนเอกศก  (พ.ศ.๒๓๒๒)  นั้น  ลาวทรงดำนั้นโปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่เพชรบุรี  ลาวเวียง  ลาวหัวเมืองฟากโขตะวันออก  ก็โปรดให้ไปตั้งบ่นเรือนอยู่เมืองสระบุรี  เมืองราชบุรีบ้าง  ตามหัวเมืองตะวันตกบ้าง  อยู่เมืองจันทบุรีบ้าง  ก็มีเชื้อสายมาจนทุกวันนี้”
           ตามหลักฐานที่กล่าวมานั้น  ไม่ปรากฏว่ามีชาวไทยพวนอพยพมาด้วยเลย  หรือจะรวมอยู่ในจำพวกว่า  “ลาวหัวเมืองฟากโขงตะวันออก”  เพราะเมืองสระบุรี  เมืองราชบุรี  ก็มีชาวไทยพวนอยู่ด้วย  แต่ข้าพเจ้าไม่ทราบลายละเอียดว่า  ตั้งอยู่ ณ  บ้าน  ตำบล  อำเภออะไร  เมื่อเขียนเรื่องชาวไทยพวนที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยข้างต้นนั้น  จึงไม่ได้กล่าวไว้ด้วย  อพยพมาตั้งอยู่เมืองลพบุรี  เมืองสระบุรี  เมืองนครนายก  เมืองฉะเชิงเทรา
          สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงอธิบายไว้ในตอนต้นเรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรอีสานไว้ดังนี้  “เดิมเมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองลาวริมทางแม่น้ำโขงมีกรุงศรีสัตนาคนหุตอันตั้งเมืองเวียงจันทร์เป็น ราชธานีเป็นอิสระอยู่กลาง เมืองหลวงพระบางเป็นอิสระอยู่ข้างเหนือเมืองนครจำปาศักดิ์เป็นอิสระอยู่ข้าง ใต้  ฝ่ายเมืองทางตอนห่างแม่น้ำโขงเข้ามาเป็นอาณาเขตเมืองนครราชสีมาของไทย  เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว  ไม่ช้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็ต้องอยู่ในอำนาจพม่า  ครั้งถึงสมัยกรุงธนบุรี ไทยกลับเป็นอิสระได้  พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็อยากเป็นอิสระบ้าง  จึงมาขอทอดทางไมตรีกับพระเจ้ากรุงธนบุรี  (มีเรื่องแจ้งอยู่ในหนังสือพระราชวิจารณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า  ฯ  เจ้าอยู่หัว  พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้โดยพิสดาร)  และเมื่อสมัยกรุงธนบุรีนั้น  ไทยได้อาณาเขตเมืองจำปาศักดิ์กับเหล่าเมืองพวนเขมรป่าดงเป็นของไทย  ครั้นอยู่มาพระเจ้าเวียงจันทร์วิวาทกับขุนนางผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อพระวอ  พระวอหนีมาขอพึ่งพระบารมีในอาณาเขตไทย  พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลดอนมดแดง  (ใกล้กับเมืองอุบลดังนี้)  พระเจ้าเวียงจันทร์บุญสาร  บังอาจให้กองทัพบุกรุกอาณาเขตไทยเข้ามาจับพระวอฆ่าเสีย  พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ยกกองทัพขึ้นไปปราบกรุงศรีสัตนาคนหุต  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอกฟ้าจุฬาโลก  เมื่อยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  เสด็จเป็นจอมทัพขึ้นไปครั้งนั้น  ตีได้เมืองเวียงจันทร์และหัวเมืองขึ้นทั้งปวงมาเป็นของไทย  พระเจ้าเวียงจันทน์หนีไปได้แต่ตัว  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเชิญพระแก้วมรกต  พระบาง  และกวาดต้อนผู้คนชาวเมืองเวียงจันทน์มาเป็นอันมาก  ให้พวกชาวเวียงจันทน์  ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามหัวเมืองชั้นในที่ถูกพม่ามากวาดต้อนเอาราษฏรไปเสียจน ล้างอยู่  คือเมืองลพบุรี  เมืองสระบุรี  เมืองนครนายก  และเมืองฉะเชิงเทราเป็นต้น  ส่วนพระญาติวงศ์ของพระเจ้าเวียงจันทน์บุญสารนั้น  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทำนุบำรุงไว้เอง  การที่กองทัพไทยยกขึ้นไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุตครั้งนั้น  พวกราษฏรเมืองลาวทั้งชาวเวียงจันทน์  และชาวเมืองอื่นพากันแตกตื่นหนีข้ามแม่น้ำโขง
ไปซุ่มซ่อนอยู่ตามป่าที่ใกล้ชายแดนญวนเป็นอันมาก  จนเกิดเมืองขึ้นทางนั้นหลายเมืองในสมัยกรุงธนบุรียังหาได้จัดการปกครองเมือง ลาวให้เป็นปกติไม่  ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่  ๑  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  โปรด  ฯ  ให้กลับตั้งเมืองเวียงจันทน์เป็นประเทศราชขึ้นกรุงเทพ  ฯ  และทรงตั้งบุตรพระเจ้าเวียงจันทน์บุญสาร  ให้เป็นเจ้านครเวียงจันทน์เมืองจำปาศักดิ์ให้เป็นประเทศราช  ส่วนเมืองลาวและเมืองเขมรดง  ซึ่งเคยขึ้นเมืองนครราชสีมาอยู่แต่ก่อน  มีพระราชประสงค์จะตั้งหัวเมืองชั้นนอกให้เป็นกำลังของเมืองนครราชสีมา  อยู่ในระหว่างแดนประเทศราชเวียงจันทน์และนครจำปาศักดิ์  จึงโปรด  ฯ  ให้เกลี้ยกล่อมพวกพระยาในท้องที่ไปตั้งภูมิลำเนาตามที่  ซึ่งสมควรจะบำรุงให้เกิดประโยชน์  ใครพาสมัครพรรคพวกไปอยู่เป็นหลักแหล่งจนเกิดเป็นที่ประชุมชนเกิดขึ้น  ณ  ที่ใด  ก็โปรด  ฯ  ให้ตั้งที่นั้นเป็นเมืองมีอาณาเขตในการปกครองทรงตั้งผู้เป็นหัวหน้าให้เป็น พระยา  หรือเป็นพระที่เจ้าเมือง  และทรงตั้งญาติวงศ์ซึ่งได้ช่วยกันทำนุบำรุงท้องที่นั้นเป็นตำแหน่งอุปราช  ราชวงศ์  และราชบุตร  ตามทำเนียบยศซึ่งนิยมกันในเมืองลาวแต่ก่อนมา  ให้เมืองเหล่านี้ส่งส่วยสิ่งของต่าง  ๆ  อันหาได้ง่ายในเมืองนั้น  มาให้ราชการในกรุงเทพ  ฯ เป็นหน้าที่  การตั้งเมืองชั้นนอกครั้งนั้นพวกท้าวพระยาพากันนิยมมีผู้เข้ารับอาสามาก เพราะได้อิสระแก่ตระกูลของตน  ใครเป็นเจ้าเมืองมีอาณาเขตน้อยหรือว่าเมื่อใคร่จะได้เป็นเจ้าเมือง  ก็พยายามเที่ยวเกลี้ยกล่อมราษฏรที่อื่นให้มาตั้งภูมิลำเนาในอาณาเขตเมืองของ ตน  เป็นเหตุให้พวกราษฏรซึ่งหลบหนีไปอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเมื่อครั้งตีเมือง เวียงจันทน์กลับคืนมาเป็นอันมาก) 
           พ.ศ.  ๒๓๒๕  อพยพมาตั้งอยู่เมืองเพชรบุรี  กรุงเทพ  ฯ  (กรุงเทพมหานคร) 
           ในศักราช  ๑๑๕๔  ปีชวดจัตวาศก  พ.ศ.  ๒๓๓๕  นั้นมาอยู่เมืองแถงเมืองพวนตั้งขัดแข็งตัวเมืองเวียงจันทน์  เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงแต่งกองทัพขึ้นไปตีเมืองแถง  เมืองพวนได้พวกลาวทรงดำ  (ผู้ไทยดำ)  ลาวพวนส่งลงมา  ณ  กรุงเทพ  ฯ  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้ลาวทรงดำ  (ผู้ไทยดำ) ไปตั้งอยู่เมืองเพชรบุรี  ลาวพวนได้ตั้งอยู่กรุงเทพ  ลาวพวนให้ตั้งอยู่กรุงเทพ  ฯ”
            พ.ศ.  ๒๓๔๗  อพยพมาตั้งอยู่เมืองราชบุรี  เมืองสระบุรี
            ลุจุลศักราช  ๑๑๖๖  ปีชวดฉศก  พ.ศ.  ๒๓๔๗  เป็นปีที่  ๒ภ  ในรัชกาลที่  ๑  เมื่อเดือน  ๕  กรมหลวงเทพหริรักษ์  พระยายมราชนายทัพนายกองไทย  ลาว  ก็ยกขึ้นไปเมืองเชียงแสน  พม่ามิได้ออกสู้รบเป็นแต่เมืองรักษานั้นอยู่  กองทัพเข้าตั้งล้อมเมืองอยู่เดือนเศษจะหักเอามิได้ด้วยพม่าประจำรักษา หน้าที่และบนนำแพงเป็นสามารถ  และกองทัพก็ขาดเสบียงอาหาร  แล้วได้ข่าวว่ากองทัพเมืองอังวะจะยกมาช่วยเมืองเชียงแสน  ครั้งเดือน  ๖  ข้างแรมเป็นเทศกาล  ฝนตกประปรายลงมาแผ่นดินก็ร้อนขึ้น  ผู้คนในกองทัพป่วยเจ็บมาก  จะอยู่สู้รบพม่าก็เห็นว่าผู้คนเจ็บไข้นัก  เสบียงอาหารก็น้อยลง  จะทำการไปมิได้  กรมหลวงเทพหริรักษ์ก็ได้ล่าถอยทัพลงมายังแต่กองทัพพวกลาว  ในเมืองเชียงแสนอดเสบียง  ฆ่าโคกระบือ  ช้างม้ากินจนหมดสิ้น  พวกลาวชาวเมืองก็ยอมออกสวามิภักดิ์แก่กองทัพเมืองลาว  เมื่อกองทัพเมืองหลวงเทพหริรักษ์เลือกถอนมาแล้วโปมะยง่วน  แม่ทัพพม่าเห็นพลเมืองออกหาแม่ทัพลาว  เหลือที่จะกดขี่ห้ามปรามไว้ได้  ก็ยกทัพหนีไปบ้าง  กองทัพลาวก็ไล่ตีพวกพม่าแตกหนีไป  โปมะยง่วนแม่ทัพถูกปืนตายในที่รบนาขวาที่พม่าตั้งให้เป็นเจ้าเมืองเชียงแสน ก็พาครอบครัวอพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้าแดนพม่าต่อไป  กองทัพได้ครอบครัวประมาณ  ๒๓,๐๐  คน  ก็รื้อกำแพงเผาบ้านเมืองเสียแล้วแบ่งปันครอบครัวออกเป็น  ๕  ส่วน  ให้ไปเมืองเชียงใหม่  ส่วน  ๑  เมืองนครลำปางส่วน  ๑  เมืองน่านส่วน  ๑  เมืองเวียงจันทน์ส่วน  ๑  อีกส่วนหนึ่งลงมา  ณ  กรุงเทพ  ฯ  โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองสระบุรีบ้าง  (อยู่หมู่บ้านห้วยหวาย  อำเภอเสาไห้  จังหวัดสระบุรี)  แบ่งไปอยู่เมืองราชบุรีบ้าง  แต่ทัพกรุงนั้นกลับลงมาเปล่าไม่ได้ราชการสื่งใดก็ทรงขัดเคืองเป็นอันมาก  ดำรัสว่าไม่รู้เท่าลาว   ให้ลงพระราชอาญาจำกรมหลวงเทพหริรักษ์พยายมราช  ไว้  ณ  พิมดาบชั้นนอกตรงหลักศาลาลูกขุนฝ่ายซ้ายไว้  ๔-๕  วันก็ให้ไปโปรดให้พ้นโทษ
             พงศวดารตอนนี้ไม่ได้บ่งไว้ชัดว่า  ครอบครัวที่อพยพในคราวนี้  เป็นชาวไทยสาขาไหน  จึงขอฝากท่านผู้อ่านไว้พิจารณาด้วย  เนื่องด้วยเหตุนี้จึงทราบไว้ด้วยว่า  นอกจากชาวไทยพวน  ผู้ไทยและโซ้งอพยพมาอยู่มนประเทศไทยแล้ว  ยังมีชาวไทยสาขาอื่น  ๆ  อพยพมาด้วยเช่นบางท่านเรียกว่าชาวเวียงจันทน์เป็นต้น  เข้าใจว่าคงตรงกับที่ชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวเรียกว่าลาวเวียงกระมัง  ที่เรียกว่าลาวเวียง  ก็คงจะมุ่งหมายถึงผู้ที่อยู่ในเวียงจันทน์  ซึ่งเป็นเมืองของประเทศลาว  อย่างที่เราเรียกกันว่าชาวกรุง  และผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยแล้ว  อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่  ณ  ที่อื่นอีก  ซึงกระจัดกระตายกันอยู่ในภาคกลางนี้ก็มี  จึงเห็นสมควรนำหลักฐานมากล่าวไว้ด้วยดังต่อไปนี้
พ.ศ.  ๒๓๕๒  อพยพมาอยู่เมืองสมุทรปราการ  เมืองฉะเชิงเทรา  เมืองชลบุรี 
          ๑.  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๕๒  เดือนยี่  ท้าวไชยอุปราชเมืองนครพนมวิวาทกันกับพระบรมราชาเจ้าเมืองนครพนมด้วยเรื่อง บ่าวไพร่  ท้าวไชยไม่ยอมเป็นผู้น้อย  จึงพาสมัครพรรคพวกบุตรหลานท้าวเพี้ยประมาณ  ๒,๐๐  เศษ  อพยพมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารในกรุงเทพมหานครมาถึงกรุง  ณ  เดือนยี่  โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่  ณ  คลองมหาวงศ์  เมืองสมุทรปราการ  ให้ทำบัญชีสำรวจได้ชายฉกรรจ์  ๘๐๐  คน  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ท้าอินพิศาล  (ฉบับกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่าชื่อท้าวอินทสาร)  บุตรผู้ใหญ่ของอุบฮาด  เป็นพระยาปลัดเมืองสมุทรปราการเป็นผู้ควบคุมดูแลภายหลังเมื่อปีชวด สัมฤทธิศก  พ.ศ.  ๒๓๗๑  พวกลาวไม่สบายขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรดขึงโปรดให้ตัดเอาแฝงเมืองชลบุรี  เมืองฉะเชิงเทรา  มาตั้งเป็นเมืองขึ้นเมืองพนัสนิคม  (ปัจจุบันเป็นอำเภอพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี)  เจ้าเมืองชื่อท้าวอินอาสา  จนถึง  พ.ศ.  ๒๓๗๒  พระอินอาสาเจ้าเมืองพนัสนิคมได้ขึ้นไปเกลี้ยกล่อมชาวนครพนม  ลงมาตั้งภูมิลำเนาอยู่เมืองพนัสนิคมอีกคราวหนึ่ง 
           ๒.  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๕๖  เจ้าอนุวงศ์เวียงจันให้เจ้าราชวงศ์เวียงจันคุมราษฎรชาวเวียงจันลงมาตัดต้น ตาลปิดทำนบลำแม่น้ำเจ้าพระยา  ให้น้ำไหลหักเข้าคลองบางแก้วจังหวัดอ่างทอง  คลองบางแก้วติ้น  ฤดูแล้งน้ำแห้งเรือเดินไม่ได้  เพราะน้ำเดินเสียทางแม่น้ำใหญ่แรงจะต้องปิดทำนบที่ลำแม่น้ำใหญ่  ให้น้ำหักเข้าไปกองบางแก้ว  น้ำจะได้กดพัดเอาทรายให้ลึกลงไปได้  เมื่อทำนบปิดน้ำแล้ว  ไม่ปรากฏว่าราชวงศ์ได้พาครอบครัวชาวเวียงจันกลับไปหมดหรือไม่  แต่ในปัจจุบันนี้ในท้องที่ตำบลศาลาแดง  อำเภอเมืองอ่างทอง  และตำบลเทวราช  อำเภอไชโย  จังหวัดอ่างทอง  ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากที่ทำนบนั้น  ยังมีหมู่บ้านชาวเวียงจันปรากฏอยู่แต่อาจจะเป็นราษฏร์ชาวเวียงจันที่อพยพมา ภายหลังปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันก็ได้
          ๓.  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๖๒  เดือน  ๔  แรม  ๑๑  ค่ำ  อ้ายสาเกียดโง้ง  ลาวตั้งตัวเป็นผู้วิเศษมีบุญสำแดงวิชาให้พวกข่าเห็น  พวกข่าสาละวัน  ข่าคำทอง  ข่าอัตบือเข้าเกลี้ยกล่อม  อ้ายสาเกียดโง้งประมาณแปดพันคนยกมาตั้งอยู่  ณ  ทุ่งนาหวา  ไกลเมืองนครจำปาศักดิ์ทางสามคืนเจ้านครจำปาศักดิ์ให้ท้าวเพี้ยคุมไพร่พลข้าม ฟากไปอยู่บ้านโพ  ได้รบกันครั้งหนึ่ง  กองทัพนครจำปาศักดิ์เหลือกำลังรับไม่ได้  จึงถอยมาตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำโขงตะวันออก  ณ  วันเดือน  ๓  ขึ้น  ๘  ค่ำ  อ้ายสาเกียดโง้งมาอยู่ฝั่งแม่น้ำโขงไกลเมืองนครจำปาศักดิ์  เจ้าเมืองได้แต่งให้เจ้าสุวรรณสารเพี้ยเมืองกลาง  เพี้ยหมื่นน่า  เพี้ยไชยภาพเป็นแม่ทัพกับท้าวเพี้ยคุมไพร่พลพันเศษ  ยกไปตั้งฝั่งแม่น้ำโขง  ให้ลาดตระเวนทางบกทางเรือ 
ครั้งถึง  ณ  วันพฤหัสบดี  ๓  ขึ้น  ๑๒  อ้ายสาเกียดโง้งข้ามน้ำมา  คนประมาณหกพันเศษจุดเผาเมืองนครจำปาศักดิ์  ผู้คนแตกกระจาย  อ้ายสาเกียดโง้งเข้ามาตั้งอยู่ในเมืองนครจำปาศักดิ์  เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์พาครอบครัวหนีขึ้นมาอยู่บ้านเจียมแขวงเมืองอุบล  เมืองเขมราฐต่อกัน  เรื่องความฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว  จึงมีตราโปรดให้เจ้าพระยานครราชสีมากับเจ้าอนุวงศ์เวียงจัน  ยกทัพขึ้นไปจับอ้ายเกียดโง้ง  ๆ  สู้ไม่ได้  ก็จับตัวอ้ายสาเกียดโง้งส่งลงมากรุงเทพมหานครกับครอบครัวข่าอีกเป็นอันมาก  อ้ายสาเกียดโง้งนั้นให้จำไว้  ณ  คุกพวกครอบคร้วข่านนั้นโปรดให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้างตั้งบ้านอยู่ที่บางบอน  (ตำบลขึ้นอำเภอบางขุนเทียน  จังหวัดธนบุรี)  จึงเรียกว่าพุ่นหญ้าช้างมาจนทุกวันนี้
          ๔.  เมื่อ  ปี่  พ.ศ.  ๒๓๗๐  ในรัชกาลที่  ๓  เจ้าอนุวงศ์เวียงจันเป็นกบฏทำศึกต่อกรุงเทพ  ฯ  โปรดเกล้า  ให้ทัพหลวงกรุงเทพ  ฯ  ขึ้นมาปราบเวียงจันแม่ทัพนายกองได้มาตรวจกองทัพถึงเมืองสกลทวาปี  (จังหวัดสกนครในปัจจุบันนี้)  เจ้าเมืองสกลทวาปีไม่ได้เตรียมกำลังไพรพงลุกกระสุนดินดำไว้ตามคำสั่งแม่ทัพ  แม่ทัพเห็นว่าเจ้าเมืองสกลทาวปีกบฏทำการขัดขืนอำนาจอาญาศึก  จึงเอาตัวพระธานีไปประหารเสียที่หนองไพรขาว  แล้วกวาดต้อนผู้คนไพร่พลเมือง  เมืองสกลทาปีลงไปอยู่    บินทร์จันตคาม  (อำเภอบินทร์บุรี)  และอำเภอจันตคาม  จังหวัดปราจีนบุรีในปัจจุบันนี้)  เหลือแต่อยู่แต่พอรักษาพระธาตุเชิงมุม  รวม  ๑ๆ  ตำบล
          ๕.  เมื่อจุลศักราช  ๑๑๙๐  (พ.ศ.๒๓๗๐)  ปีชวดสัมฤทธิ์ศก โปรดเกล้าให้ราชวงศ์พวง  เมืองกาฬสินธุ์  ที่สมัครขึ้นแยกไปขึ้นเวียงจันทร์นั้น  พาครอบครัวไปตั้งอยู่ที่อ่างศิลา  ชายทะเลตะวันออก  แขวงชลบุรี
           พ.ศ.  ๒๓๗๑  อพยพมาตั้งอยู่เมืองลพบุรี  เมืองสระบุรี  เมืองสุพรรณบุรี  เมืองนครไชยศรี
เมื่อปราบเจ้าอนุเจ้าผู้ครองเมืองนครเวียงจันซึ่งเป็นกบฏเสร็จเรียบร้อย แล้ว  ชาวไทยพวนก็ได้อพยพมาตั้งอยู่ภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยอีกหลายครั้งหลาย คราว  และในการอพยพมานี้  เข้าใจต่อไปบ้าง  อพยพมาร่วมกับชาวไทยสาขาเดียวกัน  คือ  ผู้ใหญ่และโซ้ง  เช่นจังหวัดเพชรบุรีบ้าง  ตามที่ปรากฏในหลักฐาน  ดังต่อไปนี้
“ฝ่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดี นายทัพนายกองเสร็จราชการแล้วก็พากันลงมาเฝ้าโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งเจ้า พระยาราชสุภาวดี  เป็นที่เจ้าพระยาบดินทร์เดชาที่สมุทนายตั้งพระราชรินทร์ขึ้นเป็นพระมหาเทพ  นายทัพนายกองอื่น  ๆ  ก็พระราชทานปูนบำเหน็จให้ตามความชอบทุกนาย  แล้วอพยพพระยาพิชัยวารี  (โต)  มาเป็นที่พระยาราชสุภาวดี  ครัวเวียงจันครั้งนั้นโปรดให้ไปอยู่เมืองลพบุรีบ้าง  เมืองสระบุรีบ้าง  เมืองสุพรรณบุรีบ้าง  เมืองนครไชยศรีบ้าง  พวกเมืองนครพนม  พระอินทรอาสาขึ้นไปเกลี้ยกล่อม  ก็เอามาไว้ที่เมืองพนัสนิคม  กับด้วยลาวอาสาซึ่งไปตั้งอยู่ก่อน
            ครั้นศักราช ๑๑๙๗ ปีมะแมสัปดศก (พ.ศ.  ๒๓๗๘)  เจ้าพระยาธรรมเป็นแม่ทัพคุมพลทหารขึ้นไปตั้งอยู่เมืองหลวงพระบาง  แล้วแต่งให้เจ้าราชภัยอุปราชท้าวพระยาคุมกองทัพขึ้นไปตีเมืองพวน
แต่ให้เจ้าอุ่นแก้วน้องเจ้าอุปราช  เจ้าสัญชัยบุตรเจ้าอุปราชนาคที่  ๗  เจ้าแก่นคำบุตรเจ้าหอหน้าอภัยที่  ๒  ขึ้นไปตีเมืองแถงจับได้ลาวพวน  ลาวทรงดำ  (ผู้ไทยดำ)  ส่งมา  ณ  กรุงเทพฯ  เจ้าเมืองธาตุราชเจ้าเมืองหลวงพระบางครองเมืองได้  ๒๐  ปี  รวมอายุ  ๖๔  ปี  ก็ถึงแก่กรรม
           ศักราช  ๑๑๙๘  ปีวอกอัฎฐศก  (พ.ศ.  ๒๓๗๙)  เจ้าอุปราช  เจ้าราชวงศ์มีศุภอักษรแต่งให้เจ้าอุ่นแก้วคุมดอกไม้เงินทองลงมา  ณ  กรุงเทพ  ฯ  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า  เจ้าอุปราชหรือเจ้าราชวงศ์จะตั้งเป็นเจ้าเมืองหลวงพระบางคนหนึ่ง  จึงโปรดตั้งเจ้าอุ่นแก้วบุตรเจ้านครหลวงพระบางอนุรุธที่  ๕  เป็นน้องเจ้าอุปราชไภย  เป็นที่ราชวง์ขึ้นไปรักษาบ้านเมือง  ครั้นเจ้าอุปราชวงศ์ปลงศพเจ้าเมืองหลวงพระบางเสร็จแล้ว  พวกเมืองหึม  เมืองคอย เมืองควร  ตั้งขัดแข็งต่อ        เมืองหลวงพระบาง  เจ้าอุปราช  เจ้าราชวงศ์แต่ให้ท้าวพระยาคุมกองทัพขึ้นไปตีจับได้ลาวทรงดำ               (ผู้ไทยดำ)  แต่งให้พระยาศรีมหานามคุมลงมา  ณ  กรุงเทพ  ฯ  ครังหนึ่ง
            ศักราช  ๑๒๐๐  ปีจอสัมฤทธิศก  (พ.ศ.  ๒๓๘๑)  เจ้าอุปราช  เจ้าราชวงศ์มีความวิวาทกันลงมา  ณ  กรุงเทพ  ฯ  เจ้าราชวงศ์ก็คุมลาวทรงดำ  (ผู้ไทยดำ)  ลงมา  ณ  กรุงเทพ  ฯ  อีกครั้งหนึ่ง”
            จอมพล  เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี  ได้บันทึกกล่าวถึงผู้ไทยดำ  เมือเพชรบุรีไว้ดังนี้            
            ณ  วัน  ค่ำ  เวลาบ่าย  มองซิเออร์ปาวีร์  ได้มาหาข้าพเจ้าสนทนากันด้วยข้อราชการเรื่องเมืองแถงเป็นพื้น  ข้าพเจ้าได้กล่าวให้มองเออร์ปาวีร์ฟังถึงเรื่องที่จะจัดรักษาราชการเมืองแถง ต่อไป  มองซิเออร์ปาวีร์ก็พูดขัดขวางต่าง  ๆ  ดูประหนึ่งว่าเมืองแถงเป็นฝรั่งเศสเสียทั้งหมด  ข้าพเจ้าจึงว่าเมืองแถงนี้เป็นพระราชอาณาเขตของไทยมาแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ตามที่ได้ทราบมาแต่เดิมที่ไทยจะต้องการเมืองแถงนี้  ก็คือสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รีบบอกเจ้านครหลวงพระบางว่า  พวกเมืองสิบสองจุไทยแข็งเมืองกระด้างกระเดื่องต่อเมืองหลวงพระบางไม่เหมือน แต่ก่อน  ของกองทัพกรุง  ฯ  ยกมาสมทบกับกองทัพเมืองหลวงพระบางขึ้นไปราบปราม  จึงได้ทรงกรุณาโปรดเกล้า  ฯ  ให้เจ้าพระยาธรรม  ยกกองทัพขึ้นมา  เมือถึงเมืองแถงจัดการเรียบร้อยแล้ว  ได้กวาดเอาครอบครัวเมืองแถงและสิบสองจุไทยซึ่งเป็นผู้ไทยดำลงมา  ณ  กรุงเทพ  ฯ  เป็นอันมาก  เพราะถ้าขืนทิ้งไว้ก็เกรงกว่าวะจะเกิดความยุ่งยากแก่ทางราชการขึ้นอีก  ครั้นแล้วพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า  ฯ  ให้พวกไทยผู้ดำเหล่านั้นไปตั้งภูมิลำเนาอยู่  ณ  เมืองเพชรบุรี  จนได้ชื่อว่าลาวโซ่ง  เกิดบุตรหลานเหลนอยู่ในเวลานี้หลายพันคน  ทหารที่ได้ยกขึ้นมาในกองทัพกับข้าพเจ้าคราวนี้  ก็ได้เกณฑ์เอาลาวโซ้งที่เป็นชายฉกรรจ์ขึ้นมาด้วยหลายร้อยคน  และพวกนี้ได้พบญาติพี่น้องซึ่งอยู่ในเมืองแถงเป็นอันมาก  เพราะลาวโซ้งผู้ไทยดำนั้นใช้แซ่อย่างจีน  แต่อักษรที่ใช้กันนั้นเป็นอักษรสยาม  มีสระพยัญชนะ  กอ  ขอ  อย่างโบราน  เมืองข้าพเจ้าได้พบเข้าก็อ่านออกเป็นภาษาไทยเราทุกวันนี้ได้เหมือนกัน  แต่พวกลาวหัวพันห้าทั้งหกและเมืองพวนเป็น  ๒  ผ่ายฟ้า  ก็คือกับลาวและญวน  เมืองสิบสองจุไทยและสิบสองปันนาเรียกว่า  ๓  ผ่ายฟ้า  ขึ้นอยู่กับลาว  ญวน  และจีน  เมืองเหล่านี้เป็นเมืองพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น  เมืองครั้งก่อนพวกฮ่อธงดำและพวกฮ่อธงเหลืองยกเข้ามาตั้งกองทำการกดขี่แก่ เมืองเหล่านั้น  รัฐบาลสยามได้จัดกองทัพขึ้นมาปราบปรามเป็นหลายคราว  ต้องเสียพระราชทรัพย์ชีวิตของประเทศสยามเป็นลำดับมาโดยมาก  ท่านก็ย่อมทราบอยู่แล้ว  ข้าพเจ้าได้เรียกลาวโซ่งไปกับกองทัพ  ข้าพเจ้าได้มาพบกับท้าวขุนและราษฏรเมืองแถง  เพื่อแสดงให้มองซิเออร์ปาวีร์เห็นเป็นพยาน”
           ข้อความในตอนต้นของบรรทัดแรกว่า  ณ  วัน  ๒  ค่ำนั้น  นับว่าแต่จะอ่านกันไม่ถูก  หรืออ่านกันไม่ได้เลยแม้แต่เยาวชนในสมัยปัจจุบันนี้  ส่วนมากก็อ่านกันไม่ถูกแล้ว  จึงขออ่านไว้ให้ทราบดังนี้  “ณ  วันจันทร์  ขึ้น  ๑๔  ค่ำ  เดือนอ้าย”  ถ้าเลขอยู่ข้างล่างของไปยาลน้อย  “ฯ”  เช่น  ๑๔  ต้องอ่านว่าแรม  ๑๔  ค่ำ
            ในตอนหนึ่ง  ท่านได้กล่าวถึงลาว  ๒  พวกนี้อีก  มีข้อความดังนี้
           เรามาคิดเห็นว่าพวกลาวทรงดำและลาวพวน  ซึ่งอยู่ยังเมืองเพชรบุรี  ลาว  ๒  พวกนี้  ก็หาเป็นประโยชน์อะไรต่อทางราชการ  เราคิดจะขอลาว  ๒  พวกนี้เข้ามาเป็นทหารหน้าเสียทั้งสิ้นจะได้คนมาเป็นทหารอีกสักหมื่นคนเศษ  ราชการที่พวกลาวทรงดำต้องรักษาเราจะรักษาทั้งสิ้นก็ได้  แต่ความคิดนี้เราเห็นว่า  ถ้าจะต้องการลาว  ๒  พวกนี้ก็ได้โดยง่าย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ต้องทรงบังคับพระราชหฤทัยด้วยเหตุสิ่งใด  ถ้าการนี้สำเร็จแล้ว  ต้องคิดไปฝึกหัดในเมืองเพชรบุรี  ถ้าทราบการทหารดีแล้ว  จึงส่งเข้ามารับราชในกรุงเทพ  ฯ”


ชาวไทยพวนที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน  มีอยู่หลายจังหวัด  คือจังหวัดแพร่  จังหวัดอุตรดิตถ์  จังหวัดสุโขทัย  จังหวัดพิจิตร  จังหวัดสิงห์บุรี  จังหวัดลพบุรี  จังหวัดสระบุรี  จังหวัดนครนายก  จังหวัดฉะเชิงเทรา  จังหวัดปราจีนบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี  จังหวัดเพชรบุรี  เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่าชาวไทยพวนที่ตั้งอยู่ภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัด นั้น  ๆ  ตั้งอยู่  ณ  บ้าน  ตำบล  อำเภออะไร  ข้าพเจ้าได้มีจดหมายถามไปยังท่านที่รู้จักและชอบพอกัน ซึ่งภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ บ้าง  สอบถามท่านที่เคยผ่านไปจังหวัดนั้น  ๆ  มาแล้ว  ท่านเหล่านั้นก็ได้กรุณาให้ความร่วมมือ  ได้ตอบจดหมายบ้าง  ตอบให้ทราบด้วยวาจาบ้าง  แต่ก็ยังไม่ครบทุกจังหวัด  ถ้าจะรอให้ครบทุกจังหวัด  ก็เกรงว่าจะเป็นการล่าช้า  เพราะท่านที่รอคอยอยู่ก็เป็นการล่าช้ามากอยู่แล้ว  จึงขอนำลงไว้เฉพาะจังหวัดที่ได้รับคำตอบมาเท่านั้นก่อน  หากจะมีการบกพร่องบ้าง  ก็ขออภัยท่านผู้อ่านด้วย  และขอบพระคุณทุกท่านที่ได้กรุณาตอบจดหมายมาให้ทราบ  และท่านที่ตอบด้วยวาจาไว้  ณ  ที่นี้ด้วย  ข้าพเจ้าขออนุญาตนำจดหมายของท่านลงไว้ด้วย  เพราะถ้าจะเก็บเอาใจความมาเรียงขึ้นใหม่ก็เกรงว่าจะขาดข้อความสำคัญบางสิ่ง บางอย่างไป  เพราะบางท่านได้แสดงความเป็นอยู่ของชาวไทยพวนในท้องถิ่นนั้น  ๆ  มาโดยละเอียดด้วย
                ๑. จังหวัดแพร่  มีไทยพวนอยู่  คือบ้านทุ่งโห้งใต้  ตำบลทุ่งโห้ง  อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่
มีจำนวนหลังคาเรือน  ๓,๐๐๐  กว่า  ปัจจุบันมีวัด  ๒  วัด  คือ  วัดทุ่งโห้งเหนือ-ใต้  พระครูวิบูลวิริยาวัฒน์  เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งโห้งเหนือและเจ้าคณะตำบล  พระอธิการสารเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งโห้งใต้  นายเฉลิม  (ตุ้ย  วารินทร์)  ศรีธิพงษ์  เป็นกำนัน  คนหมู่บ้านนี้ใจเด็ดขยันและเป็นเจ้าบ้านมั่งมีที่สุดขยัน  แข็งแรงที่สุดการทำงานไม่ว่าด้านไหนเป็นที่  ๑  ของจังหวังแพร่  เลื่อมใสทางศาสนามาก  ที่จังหวัดน่านไม่ปรากฏว่ามีบ้านพญาภู  อาตมภาพไปบ่อยแต่ชาวบ้านไม่เห็นแสดงออกว่าเป็นไทยพวนเลย  อาตมาภาพจะต้องสืบดูก่อนได้ข่าวจะเจริญพรต่อไป  พวกทุ่งโห้งนี้มีการบวชเณรและพระมาก  ที่เป็นมหาเปรียญก็มีมาก  พวกเป็นเจ้าของนา  สวน  วัว  ควาย  ช้าง  รถยนต์  มีบริษัท  รถยนต์ชื่อ  รถอ่อนมาไลมีรถมากรถเมล์  โดยสารระหว่าง  จ.แพร่  เชียงราย  น่าน  ลำปาง  หมู่บ้านนี้มีตลาดใหญ่  มีไฟฟ้า  น้ำประปา  ห่างจากจังหวัดเพียง  ๔  กม.  ถนนยันตรกิจโกศลผ่านหมู่บ้านนี้ไป  จ.น่าน  และ  ช.ร.  ท่านอาจารย์มีความสงสัยอะไรก็ถามไปได้  ท้ายนี้อาตมภาพขอยุติเท่านี้  ขอความสำเร็จการจัดทำระวัติจงสำเร็จโดยพลันเทอญ
                ๒. จังหวัดอุตรดิตถ์  อำเภอเมืองมีอยู่  ๒  หมู่บ้าน  คือบ้านปากฝาง  บ้านผาจุก  แต่ละหมู่บ้านมีจำนวนไม่มากนัก  สำเนียงพูดนับวันแต่จะสูญสิ้นไป  เพราะอยู่ในถิ่นคนที่พูดสำเนียงคล้ายสำเนียงภาคพายัพ  จนถูกกลืนเป็นสำเนียงพายัพเป็นส่วนมากแล้ว  แต่เมื่อพูดสำเนียงไทยพวนด้วย  ก็พอรู้เรื่องกันอยู่บ้าง
                ๓. จังหวัดสุโขทัย  อำเภอศรีสัชนาลัย  มีอยู่  ๔  หมู่บ้าน  คือบ้านหาดเสี้ยว  หาดสูง  บ้านใหม่  บ้านแม่ราก  ทั้ง  ๔  หมู่บ้านนี้  ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมไว้  อยู่มากมายหลายอย่างดังจะได้กล่าวให้ทราบต่อไป
                อำเภอสวรรคโลก  มีอยู่  ๑  หมู่บ้านคือ  บ้านคลองมะพลับ  อพยพมาจากอำเภอบ้านหมี  จังหวัดลพบุรี  มีจำนวนไม่มากนัก  สำเนียงเดิมก็ดูเหมือนจะไม่มีเหลืออยู่แล้ว
                อำเภอลานหอย  มีอยู่  ๑  หมู่บ้าน  คือ  บ้านวังหาด  อำเภอตลิ่งชัน  อพยพมาจากจังหวัดตาก  ได้ถามผู้ยอกเล่าให้ฟังว่า  อพยพมาจากบ้าน  ตำบล  อำเภออะไร  ผู้บอกเล่าบอกว่าไม่ได้ถามให้ได้ความโดยละเอียด
                ๔. จังหวัดพิจิตร  อำเภอตะพานหิน  มีอยู่  ๒  หมู่บ้าน  คือบ้านป่าแดง  บ้านทับคล้อ  เท่าที่ทราบมาปรากฏว่ามีมากกว่านี้  แต่ไม่ทราบชื่อหมู่บ้านโดยละเอียด
                ๕. จังหวัดลพบุรี  อำเภอบ้านหมี่มีหลายหมู่บ้าน  คือ  บ้านคลองไม้เสียบ  บ้านหมี่  บ้างเชียงขวาง  บ้านเช่า  บ้านโพนทอง  บ้านกลาง  บ้านราษฎร์  บ้านหินปัก  บ้านสะเตย  บ้านโนนยาว  บ้านทราย  บ้านวังกระพี้  บ้านกล้วย  บ้านห้วยกรวด  บ้านหนองเมือง  บ้านมะขาม  เฒ่า  บ้านหลุมข้าว  บ้านหนองทรายชาว  บ้านสายห้วยแก้ว
                อำเภอเมือง  มีหลายหมู่บ้านคือ  บ้านโคกกระเทียม  ตำบลโคกกระเทียม  บ้านถนนแค  บ้านถนนใหญ่  ตำบลทะเลชุบศร  บ้านขุนเชียงงา
                ๖.  จังหวัดสระบุรี  ดูเหมือนจะทีหลายหมู่บ้าน  ได้ทราบแต่หมู่บ้านเดียว  คือบ้านสร้าง  จะขึ้นอยู่ในอำเภอไหนไม่ทราบ  ผู้บอกเล่าจำไม่ได้
                ๗.  จังหวัดนครนายก 
                ๘.  จังหวัดฉะเชิงเทรา
                ๙.  จังหวัดปราจีนบุรี  มีชาวพวนอาศัยอยู่ที่  (๑)  อำเภอเมือง  (๒)  อำเภอบ้านสร้าง  (๓)  อำเภอศรีมหาโพธิ์  (๔)  อำเภอประจันตคาม  (๕)  อำเภอบินทรบุรี  (๖)  อำเภอสระแก้ว  (๗)  อำเภอวัฒนานคร  (๘)  อำเภอตาพญา  (๙)  อำเภออรัญญประเทศ  (๑๐)  กิ่งอำเภอโคกปีบ  (แยกจาก  อ.ศรีมหาโพธิ) 
                ๑๐.  จังหวัดสุพรรณบุรี  อำเภอบางปลาม้า  ผู้ที่เคยไปเที่ยวมาได้บอกกับข้าพเจ้าเท่าที่จำได้ดังนี้คือ  บ้านเก้าห้อง  บ้านด่าน  บ้านโคกโก  บ้านตะลุ่มบ้านสุด   บ้านตะลุ่มบ้าหมี  บ้านรางบัว 
บ้านมะขามล้ม
                ๑๑.  กรุงเทพมหานคร  ปัจจุบันนี้ไม่มีทางจะสืบทราบได้ว่า  มีชาวไทยพวนอยู่  ณ  ที่ไนบ้าง  เพราะชาวไทยพวนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว  นับเป็นเวลาตั้งร้อยปี  ภาษาพูดก็ถูกกลืนเป็นภาษาภาคกลางทั้งหมดแล้ว  และชาวไทยพวนที่อพยพอยู่ในกรุงเทพมหานคร  ก็มีไม่มากนักตามที่ข้าพเจ้าได้ยินได้จากผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังก็มีอยู่ เพียง  ๒  แหล่งเท่านั้น  คือที่บางไส้ไก่แห่งหนึ่ง  ที่ข้างวัดคอกหมู  ใกล้สี่แยกถนนหลานหลวงแห่งหนึ่งเยี่ยมญาติที่บ้านหมี่  (สนามแจง  ชาวบ้านหาดเสี้ยวเรียกเป็นคำรวมว่า  บ้านหมี่สนามแจง  หรือสนามแจงบ้านหมี่)  แล้วลองไปเที่ยวกรุงเทพ  ฯ  (บางกอก)  และได้ไปซื้อแคนที่บางไส้ไก่ไปใช้ด้วยเพราะเป็นแคนดี  พวกที่ทำแคนก็เป็นชาวไทยพวน  เท็จจริงอย่างไรขอมอบให้เป็นเรื่องของผู้บอกเล่า
                แต่เป็นที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง  คือที่บางไส้ไก่นี้มีวัดอยู่วัดหนึ่ง  ชื่อว่า  “วัดบางไส้ไก่” การตั้งชื่อเช่นนี้คงจะตั้งตามสถานที่ซึ่งวัดตั้งอยู่ และมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “วัดลาว” เหตุใดจึงเรียกชื่อว่าวัดลาว เป็นปัญหาที่น่าพิจารณา หากจะสันนิษฐานว่า บางทีอาจจะเป็นเพราะพวกลาวอพยพมาจากประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บางไส้ไก่และพากันสร้างวัดขึ้นเพื่อประกอบการกุศล เช่นนี้ จะมีทางเป็นไปได้หรือไม่ หากเป็นไปได้ตามที่ว่ามานี้ ก็เป็นหลักฐานยืนยันคำพูดของผู้บอกเล่าให้ข้าพเจ้าฟังเป็นความจริงขึ้น หรือท่านผู้อ่านจะมีความคิดเห็นอย่างไรขอได้โปรดพิจารณาต่อไปด้วย
                ข้างวัดคอกหมู  ผู้บอกเล่ายังมีชีวิตอยู่ท่านเล่าว่า  เมื่อประมาณ  ๕๐  ปีมาแล้วท่านได้ไปสนทนาปราศรัยกับชาวบ้านวัดข้างวัดคอกหมู  เป็นชาวไทยพวนพูดภาษาไทยพวนและมีการทอหูกทอผ้าเหมือนชาวไทยพวนบางท้องถิ่น ด้วย  หากเราไม่เชื่อว่าไปน่าจะเป็นไปได้  ก็มีเหตุผลที่น่าพิจารณาอยู่อย่างหนึ่ง  คือคำว่า  “วัดคอกหมู” เหตุเดิมของท่านเป็นมาอย่างไรข้าพเจ้าไม่เคยได้อ่านประวัติของวัด แต่พิจารณาถึงเรื่องของคำเหล่านั้น คำว่า “คอกหมู” ถ้าหมายถึงที่สำหรับเลี้ยงหมู น่าจะเป็นคำเพี้ยนมาจากภาษาของชาวไทยพวน เพราะภาษาไทยพวนเรียกว่า “เคาะหมู”  ส่วนภาษากลางดูเหมือนจะเรียกว่า  “เล้าหมู”  เหมือยอย่างเล้าเป็ดเล้าไก่  ดังนั้น  จึงสันนิษฐานว่าที่ข้างวัดคอกหมูนี้  น่าจะเป็นถิ่นที่ชาวไทยพวนตั้งถิ่นฐานอยู่บ้างตามที่ท่านผู้บอกเล่าได้ไป สนทนาปราศรัยมาแล้วก็อาจเป็นได้
                ในขณะที่ข้าพเจ้าเขียนเรื่องนี้  ได้ไปถามบางสิ่งบางอย่างกับท่านเจ้าคุณสุวิมล  ธรรมาจารย์
คณะสลัก  วัดมหาธาตุ  ซึ่งนักเป็นค้นคว้าองค์หนึ่ง  ท่านได้พูดกับข้าพเจ้าว่า  “คำว่านางเลิ้งนี้  เดิมทีเดียวเรียกว่านาเล้ง  เมื่อข้าพเจ้าได้ฟังแล้วก็ไม่ได้มีความสนใจอะไร  และไม่ได้ถามอะไรต่อไปอีกด้วย  เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องที่ข้าพเจ้าเขียน  ต่อมาเมื่อมีผู้มาพูดเรื่องชาวไทยพวนข้างวัดคอกหมูให้ข้าพเจ้าฟัง  จึงได้เกิดความสนใจเรื่องนางเลิ้งขึ้นมาทันที  เพราะอยู่ไม่ห่างไกลจากวัดคอกหมูเท่าไรนัก  จะเรียกว่าอยู่ในบริเวณที่มีอาณาเขตติดต่อกันก็ได้  ที่มาเกิดความสนใจขึ้น  ก็เพราะเป็นเรื่องที่จะทำให้ชาวไทยพวน  ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ข้างวัดคอกหมูปรากฏเป็นความจริง  และโดยนัยตรงกันข้ามก็จะทำให้คำว่านางเลิ้งมีหลักฐานมั่นคงเป็นที่น่าเชื่อ ถือได้อีกด้วย  ถ้าคำว่า  “นางเลิ้ง”  เป็น  “นาเลิ้ง”  จริงตามที่กล่าวมาแล้ว  ก็ต้องเป็นชื่อบ้านของชาวไทยพวนว่า  “บ้านนาเลิ้ง”  เป็นแน่  เพราะการเอาชื่อนามาตั้งเป็นชื่อบ้าน  ชาวไทยพวนได้นิยมตั้งกันมาตังแต่อยู่ในเมืองพวน  แขวงเมืองเชียงขวาง  ในประเทศลาวแล้ว  คือเมื่ออพยพไปตั้งบ้านเรือนทำไร่ทำนาอยู่  ณ  ที่ไหน  ก็มักจะตั้งชื่อนามาเป็นชื่อบ้าน  เช่น  อย่างเฒ่าแก่ผู้ที่อพยพมาอยู่ที่บ้านหาดเสี้ยวบางท่านเล่าให้ลูกหลานฟังว่า  ท่านอพยพมาจากบ้านนาบงบ้าง  บ้านนาบอนบ้าง  บ้านนาบือบ้างเป็นต้น  ส่วนในปัจจุบันชื่อบ้านเหล่านี้จะยังปรากฏอยู่หรือไม่  ข้าพเจ้าไม่ทราบ  เพราะเป็นเวลาล่วงเลยมาร้อยกว่าปีแล้ว  ข้าพเจ้าได้นำเรื่องนี้ไปพูดให้เพื่อนฝูงฟัง  บางท่านก็รับฟังเฉย  ๆ  บางท่านก็แย้งว่า  “นาเลิ้ง”  เป็นภาษาญวน  ที่ว่าเดิมเป็นนาเลิ้งนั้นเห็นจะเป็นไปไม่ได้  ท่านจะได้หลักฐานมาจากไหน  ข้าพเจ้าไม่ได้ถามเข้าใจว่าท่านคงจะนึกว่าวัดญวนอยู่ใกล้  ๆ  นางเลิ้งกระมัง  และข้าพเจ้าก็ไม่ได้ขัดแย้งอย่างไร  เพราะมีความเชื่อมั่นคำว่านาเลิ้งตามที่กล่าวมาแล้วนั้นอย่างสนิทใจ  จึงได้นึกอยู่แต่ในใจว่าเป็นภาษาญวนไปไม่ได้  ในระยะที่คนไทยอพยพมาอยู่ในประเทศนั้น  ไม่ปรากฏว่าจะมีชาวญวนอพยพมาด้วยเลย  และในขณะนั้นดูเหมือนชาวญวนจะมีอำนาจ  เหนือคนไทยที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ชายแดนติดต่อกับประเทศญวนเสียด้วย  ถูกพวกญวนกดขี่รีดนาทาเร้นส่วยสาอากร  ชาวไทยพวนที่อพยพมาอยู่ที่บ้านหาดเสี้ยว  บางคนเล่าให้ลูกหลานฟังว่า  ถูกพวกญวนเก็บภาษีปีละ  ๒  ครั้ง  จึงได้อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในประเทศไทย  และชาวญวนที่อพยพมาอยู่ในประเทศไทย  ส่วนมากอพยพมาเมื่อฝรั่งเศสได้ครอบครองอินโดจีนทั้งหมดแล้ว  ส่วนที่อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารก่อนจากนี้ก็มีเป็นส่วนน้อย  ส่วนมากเป็นพวกเจ้าผู้ครองประเทศ  อพยพมาเพื่อหวังพึ่งกำลังกลับไปกู้ประเทศชาติบ้านเมืองกลับคืน  ทำนองรัฐบาลพลัดในปัจจุบันนี้
                บอกเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า  ปัจจุบันในกรุงเทพหานคร  มีชาวไทยพวนตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่แห่งหนึ่ง  คืออำเภอมินบุรี  เรียกว่าบ้านบำเพ็ญ  ตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบทั้งสองฝั่งคลอง  ล้อมรอบด้วยชาวอิสลาม  เนื่องจากไก้อพยพมาเป็นเวลานานแล้ว  และมีจำนวนไม่มากนักภาษาพูดจึงถูกกลืนเป็นภาษากลางไปหมด  แต่ก็พอจำกันได้ว่า  พวกตนเองมีเชื้อสายสืบเนื่องจากไทยพวน  ฯ 
  

 ชาวไทยพวนที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตำบลหาดเสี้ยว  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย  ปัจจุบันนี้มีอยู่  ๔  บ้าน  คือ  บ้านหาดเสี้ยว  บ้านหาดสูง  บ้านใหม่ บ้านแม่ราก  แต่ละบ้านมีวัดประจำบ้าน  สำหรับชาวบ้านทำบุญให้ทานบ้านละหนึ่งวัด  ชาวไทยพวนทั้ง  ๔  บ้านนี้  อพยพมาจากเมืองพวนแขวงเมืองเชียงขวาง  ในประเทศลาว  ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  การอพยพมานี้เนื่องด้วยเหตุผลอะไร  และอพยพมาในปี  พ.ศ.  เท่าไร  ข้าพเจ้ายังไม่พบหลักฐานในพงศาวดารและเอกสารใดๆ  เลย  ชาวไทยพวนที่อพยพมาอยู่ในจังหวัดอื่นๆ  หลายจังหวัด  ส่วนมากก็มีหลักฐานปรากฏอยู่ในพงศาวดาร  ตามที่ได้นำมากล่าวไว้ข้างต้นนั้น  ดังนั้น  เรื่องชาวไทยพวนจังหวัดสุโขทัยอพยพมานี้จึงเป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าเขียนขึ้น ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าแก่  ซึ่งเล่าให้ลูกๆ  หลานๆ  ฟังแล้วได้เล่าสืบต่อกันมา  และหลักฐานบางสิ่งบางอย่างซึ่งพอจะนำมาอ้างอิงได้  จึงอาจจะมีการบกพร่องอยู่บ้าง    การอพยพมานี้  เป็นที่เชื่อถือได้ว่า  ต้องอพยพมาในรัชกาลที่  ๓  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนปี  พ.ศ.  ๒๓๘๗  ประมาณ  ๕-๖ ปีเป็นแน่ เพราะในปีนี้เป็นปีที่บรรดาท่านที่อพยพมา โดยเฉพาะชาวบ้านหาดเสี้ยว ได้ปลูกบ้านสร้างเรือนเป็นที่อยู่อาศัยตลอดจนการจัดหาที่ดินประกอบการอาชีพ  และสร้างวัดวาอารามทั้งสร้างโบสถ์เสร็จเรียบร้อยแล้วได้ทำการฉลองวัดและ โบสถ์พร้อมกัน  ตามหลักฐานซึ่งปรากฏอยู่ในศิลาจารึกที่ติดอยู่ฝาผนังโบสถ์  ซึ่งได้นำมาพิมพ์ไว้ในตอนท้ายของเรื่องนี้แล้ว  การอพยพมาก็ไม่ได้อพยพมาในฐานที่ถูกกวาดต้อนมา  อพยพมาด้วยความสมัครใจที่จะมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในประเทศไทย  เพราะได้ทราบข่าวจากญาติพี่น้องซึ่งอพยพมาก่อนว่า  เมืองไทยมีความอุดมสมบรูณ์ดีมาก  การทำมาหากินก็สะดวก  ประชาชนมีความสมบรูณ์พูลสุขไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนในเรื่องการทำมาหา กินอย่างไรเลย  การเสียภาษีอากรก็ไม่เดือดร้อน  ปีหนึ่งเสียเพียงครั้งเดียว  แต่เล่ากันว่าที่เมืองพวนเสียภาษีปีละ  ๒  ครั้ง  ถ้าเป็นอย่างที่เล่ากันเช่นนั้นจริง  ก็เป็นเรื่องของเจ้านายที่นั้นคิดเก็บกันขึ้นเอง  เพราะในขณะนั้นเมืองพวนก็ยังขึ้นอยู่ในความปกครองของประเทศไทย  บางท่านเล่าว่าที่ถูกเก็บภาษีปีละ  ๒ ครั้งนั้น  เพราะพวกแกว (พวกญวน)  เป็นผู้เก็บ  เรื่องทำนองนี้ก็อาจเป็นได้  เพราะบางคราวญวนมีอำนาจก็อาจจะเรียกเก็บก็เอาตามความชอบใจ  หรืออาจเป็นเพราะบ้านเมืองอยู่ใกล้ชายแดน  เมื่อมีข้าศึกมารุกรานย่อมได้รับความเดือดร้อน  จึงพากันอพยพมาโดยทำนองหนีร้อนมาพึ่งเย็นก็อาจเป็นไปได้  ความตอนหลังนี้มีเหตุผลที่น่ารับฟัง  เพราะเมื่อได้อพยพมาอยู่เมืองไทยแล้ว  ยังมาตากขาวสุกให้แห้งไว้และสั่งลูกสั่งหลานให้ทำตามด้วย  โดยให้เหตุผลว่าเมื่อมีข้าศึกมารุกรานจะได้หนีเอาตัวรอดละนำข้าวแห้งซึ่งตาก เตรียมไว้นำติดตัวไปด้วยเพื่อรับประทานโดยไม่ต้องหุงไม่ต้องต้ม  เพียงแต่อมให้ชุ่มชื้นด้วยน้ำลายแล้วก็กลืนเท่านั้น  ทั้งนี้แสดงว่าเมืองพวนคงจะถูกข้าศึกศัตรูมารุกรานอยู่เสมอๆ 
แม้จะหลีกหนีมาอยู่ในที่ห่างไกลจากชายแดนแล้ว  ก็ยังมีความสะดุ้งหวาดกลัวข้าศึกศัตรู  ด้วยเหตุนี้  จึงไม่มีหลักฐานปรากฏในพงศาวดารหรือข้าพเจ้าอาจจะค้นคว้าไม่ละเอียดพออาจ เป็นไปได้  หากมีอะไรผิดพลาดก็ขออภัยท่านผู้อ่านด้วยส่วนข้อบกพร่องละผิดพลาดนั้น  ขอฝากเยาวชนรุ่นหลังๆ  ซึ่งคิดจะทำต่อไปจงเพิ่มเติมและแก้ไขให้ถูกต้องด้วย  ขอให้ถือว่าข้าพเจ้าที่เขียนไวนี้  เป็นเพียงกรุยทางไว้เพื่อให้พวกลูกหลานเดินต่อไปเท่านั้น
           การอพยพมานี้  ฝ่ายฆราวาสมีพี่น้องสามแสน  คือแสนจันทร์พี่ชายใหญ่  แสนปัญญาน้องชายกลาง  แสนพลน้องชายคนเล็ก  เป็นหัวหน้านำมา  (แสน  เป็นตำแหน่งอะไรของเมืองพวน  ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านก็ไม่มีใครทราบ  ปทานุกรม  กรมตำรากระทรวงธรรมการ  พ.ศ.  ๒๔๗๐  ซึ่งเลิกใช้แล้วให้ความหมายไว้ว่า  “แสน”  ตำแหน่งขุนนางลาว  เวลาเขียนเรื่องนี้ก็ไม่มีโอกาสได้พบปะข้าราชการในประเทศลาว  เพื่อสอบถามมาเสนอท่านผู้อ่านพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  “แสน  ตำแหน่งนายทหารครั้งโบราณ” แต่ตำแหน่งแสนของเมืองพวน  จะมีความหมายตรงกันนี้หรือไม่  ขอฝากท่านผู้อ่านไว้พิจารณาด้วย)  ฝ่ายพระสงฆ์มีเจ้าหัวอ้ายสมเด็จวัดบ้านตาลเป็นหัวหน้า  ในการเดินทางมาครอบครัวของแสนจันทร์นั่งมาบนหลังช้าง  (ขี่ช้างมา)  คุณปู่ของข้าพเจ้า  คือท้าวพิทักษ์  (ธรรม)  ลูกชายคนเล็กของแสนจันทร์  เล่าให้คุณพ่อข้าพเจ้าฟังและท่านได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังอีกต่อหนึ่งครั้งว่า  เมื่อท่านมาจากเมืองพวนอายุได้เพียง  ๑๒  ปี  การเดินทางมาต้องขี่ช้างมา  ส่วนแสนจันทร์คงจะนั่งคานหามมา  เพราะไม้คานหามของท่านยังมีปรากฏอยู่กระทั่งบัดนี้  เวลานี้  ข้าพเจ้านำมาเก็บไว้ที่บ้านน้องชาย  คือคุณเชาว์  วงศ์วิเศษ  ตั้งใจจะนำไปมอบให้เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์  จังหวัดสุโขทัย  เพื่อเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์  แต่ยังหาโอกาสไปมอบไม่ได้  หากลูกหลานคนไหนจะจัดการนำไปมอบให้แทนข้าพเจ้าได้  ข้าพเจ้าจะขอบใจเป็นอย่างยิ่ง  และการนำไปมอบควรจะมีหนังสือนำมอบด้วย  การเดินทางเข้ามาในอาณาเขตของประเทศไทยนั้นเข้าใจว่าคงเดินเข้ามาทางจังหวัด น่าน  แล้วเดินทางผ่านจังหวัดแพร่  จังหวัดอุตรดิตถ์  แล้วเดินทางมุ่งหน้าไปเมืองสวรรคโลก  การที่ทำให้มีความเข้าใจเช่นนี้  เพราะมีข้อพิสูจน์  คือ
           ๑.  เมื่ออพยพมาตั้งภูมิลำเนา  ปลูกบ้านสร้างเรือนเป็นที่อยู่อาศัยเป็นหลักฐานมั่นคงดีแล้ว  มีบางคนกลับไปเยี่ยมญาติพี่น้องที่ภูมิลำเนาเดิมคือเมืองพวน  ก็เดินทางออกจากอาณาเขตประเทศไทยทางจังหวัดน่าน  ข้ามแม่น้ำโขงเข้าสู่ประเทศลาว  แล้วเดินทางต่อไปเมืองพวน  จึงทำให้เข้าใจว่า  เมื่ออพยพต้องเดินมาตามเส้นทางนี้ เมื่อกลับไปจึงต้องกลับไปตามเส้นทางที่เคยมา  เพราะมีความชำนาญทางดีแล้ว 
          ๒.  ที่หมู่บ้านทุ่งโห่ง  อำเภอเมือง  จังหวัดแพร่  มีชาวไทยพวนตั้งภูมิลำเนาอยู่  ๒  หมู่บ้าน  ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น  ข้าพเจ้าก็ยังไม่ได้พบหลักฐานว่าอพยพมาเมื่อไร  ถ้าไม่อพยพมาพร้อมกันในคราวเดียวกับชาวไทยพวน  จังหวัดสุโขทัย  ก็ต้องอพยพมาก่อน  เมื่อชาวไทยพวนจังหวัดสุโขทัย เดินทางผ่านมาจึงได้มาพบว่า
มีชาวไทยพวนตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่นี่  และก็คงจะได้สนทนาปราศรัยซึ่งกันและกัน  ทำความรู้จักสนิทสนมกันไว้  เพราะในการต่อมาปรากฏว่ามีชาวไทยพวนจังหวัดสุโขทัย  ไปมีครอบครัวตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ที่นั้นหลายคน  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เข้าใจว่า  เมื่ออพยพมาต้องเดินทางผ่านมาทางนี้เป็นแน่  ถ้าไม่เช่นนั้นจะมีทางทราบได้อย่างไรว่า  มีชาวไทยพวนตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่นี่
          ๓.  เมื่อเดินทางมาถึงบ้านนานกกก  ปัจจุบันขึ้นอยู่อาณาเขตของอำเภอลับแล  จังหวัดอุตรดิตถ์ พวกที่อพยพมา  ๘  ครอบครัว  ได้พากันพักอยู่ที่บ้านนานกกกนั้น  ไม่ทราบว่าเพราะเหตุผลอะไร  เมื่อบรรดาพวกอพยพส่วนใหญ่ได้มาตั้งหลักฐานปลูกบ้านสร้างเรือนที่บ้านหาด เสี้ยวเรียบร้อยแล้ว  ญาติพี่น้องของ  ๘  ครอบครัวซึ่งพักอยู่ที่บ้านนากกนั้น  ได้ขึ้นไปรับมาทั้งหมดแล้วให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำยม  ทางด้านตะวันตก  ตรงข้ามกับบ้านหาดเสี้ยว  ให้ชื่อว่าบ้าน     หาดสูงสืบมาจนกระทั่งบัดนี้  จึงเป็นเหตุผลอันหนึ่ง  ซึ่งทำให้แน่ใจว่า  เมื่ออพยพมาต้องเดินทางผ่านมาตามเส้นทางที่กล่าวมานั้น
          เมื่อ เดินทางเข้ามาถึงอาณาเขตของเมืองสวรรคโลกแล้ว  จึงได้เลือกเอาภูมิประเทศที่บ้านหาดเสี้ยวปัจจุบันนี้ปลูกบ้านสร้างเรือน เป็นที่อยู่อาศัย  พร้อมทั้งสร้างวัดวาอารามเป็นที่พำนักของพระภิกษุสามเณร  และหาที่ดินเป็นที่ประกอบอาชีพเป็นกรรมสิทธิ์ของตนแล้วได้ตั้งชื่อบ้านว่า  บ้านหาดเสี้ยวสืบต่อมาจนกระทั่งบัดนี้  เนื่องด้วยเหตุผลอะไร  จึงได้ตั้งชื่อบ้านเช่นนั้นไม่มีใครทราบหรือจะเอาชื่อเดิมซึ่งอยู่ในเมือง พวนมาตั้งก็อาจเป็นไปได้  โปรดพลิกกลับไปอ่านเรื่อง  “เหตุผลที่ชื่อว่าพวน” ข้างต้นดูเถิด มีหลายท่านได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ชาวไทยพวนเมื่อย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่ไหนจะเอาชื่อบ้านที่อยู่เดิมไปตั้งเป็นชื่อบ้านอยู่ใหม่ด้วย เรื่องนี้น่าจะช่วยกันค้นคว้าหาหลักฐานให้ได้ความจริงที่แน่นอน แม้เรื่องที่ข้าพเจ้าเขียนนี้  บ้านหาดเสี้ยว  จังหวัดสระบุรีก็มีบ้านหมี่ก็มีอยู่สองจังหวัด  คือจังหวัดลพบุรี  สุพรรณบุรี  จึงขอฝากท่านผู้อ่านไว้พิจารณาด้วย
          บ้าน หาดเสี้ยว  ปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย  ห่างจากเมืองสวรรคโลก  ๒๘  กิโลเมตร  ทั้งนี้  หมายถึงเมืองสวรรคโลกซึ่งย้ายไปตั้งอยู่  ณ  ที่ใหม่  เพราะในขณะที่ชาวไทยพวนอพยพมานี้  เมืองสวรรคโลกได้ย้ายลงไปตั้ง  ณ  ที่ใหม่แล้ว  เรื่องเมืองสวรรคโลก  ข้าพเจ้าจะได้นำมากล่าวให้ทราบต่อไป  เมื่อได้ตั้งถิ่นฐานเป็นที่อยู่อาศัยเรียบร้อยแล้ว เข้าใจว่าแสนจันทร์ก็คงรายงานให้ท่านเจ้าเมืองทราบตามระเบียบ  และท่านเจ้าเมืองสวรรคโลกก็คงจะรายงานให้ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงตามลำดับทราบ ตามระเบียบเช่นเดียวกันต่อไป  จึงแต่งตั้งแสนจันทร์ให้เป็นผู้ปกครองดูแลราษฎรในท้องถิ่นนั้น  ตลอดจนการเก็บภาษีอากรส่งให้แก่รัฐบาลและส่งถึงกรุงเทพฯ  ไม่ได้ส่งที่เจ้าเมืองกำหนดส่งสามปีต่อหนึ่งครั้ง  เพราะการคมนาคมไม่สะดวก  การเดินทางต้องอาศัยเรือขึ้นล่องตามแม่น้ำยม  ดังนั้น  แสนจันทร์จึงได้สร้างเรือขึ้นลำหนึ่งเป็นเรือมาด  ๔  แจว  สำหรับใช้เดินทางเสียภาษีอากร  การเดินทางขาล่อง  ๑๕ วันถึงกรุงเทพฯ  ขาขึ้นเดือนเศษถึงบ้านหาดเสี้ยว  เมื่อหมดหน้าที่ส่งภาษีอากรแล้ว  หลวงเกษมหาดเสี้ยว  กำนันตำบลหาดเสี้ยว  ได้เก็บเรือลำนี้ขึ้นคานไว้ที่ใต้ถุนเรือนของท่าน  เวลานี้ผุพังหมดแล้ว  ผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองดูแลราษฏรในท้องถิ่นนี้  มีตามลำดับดังนี้  คือ
           ๑.  แสนจันทร์  เป็นคนแรก  ท่านทำหน้าที่อยู่กี่ปีไม่มีใครทราบ  เมื่อท่านถึงแก่กรรมแล้ว  เจ้าเมืองสวรรคโลกได้แต่งตั้งบุตรคนโตของท่านชื่อ  “ทอง” ให้ทำหน้าที่สืบต่อมาแล้วแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้เป็น “หลวงศรีพิทักษ์” 
           ๒.  หลวงศรีพิทักษ์  (ทอง)  เป็นคนที่สองสืบหน้าที่ต่อมา  เมื่อท่านถึงแก่กรรมแล้ว  เจ้าเมืองสวรรคโลก  ได้แต่งตั้งบุตรคนโตของท่านชื่อ  “ทา”  ให้ทำหน้าที่สืบต่อมา  และแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้เป็น  “หลวงศรี”  สำหรับสร้อยต่อท้ายชื่อของท่านจะมีหรือไม่มีใครทราบเรียกกันแต่เพียงว่า  “หลวงศรี”  เท่านั้น
           ๓.  หลวงศรี  (ทา)  เป็นคนที่สามทำหน้าที่สืบต่อมา  เมื่อท่านถึงแก่กรรม  บุตรคนโตของท่านชื่อ  “คำมูล”  มีอายุไดเพียง  ๑๙  ปี  ยังไม่บรรลุนิติภาวะ  เจ้าเมืองสวรรคโลกจึงแต่งตั้งน้องชายชื่อ  “ธรรม”  ให้ทำหน้าที่สืบต่อมา  แต่แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้เป็น  “พระสุวรรณ”  สำหรับสร้อยต่อท้ายชื่อของท่านจะมีหรือไม่ไม่มีใครทราบ  ชาวบ้านเรียกท่านว่า  พระสุวรรณเท่านั้น  ต่อมาเมื่อท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ใหม่  ก็ยังคงเรียกท่านว่า  พระสุวรรณอยู่อย่างเดิม  เรื่องการตั้งบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระนี้  หลวงเกษมหาดเสี้ยวเล่าว่า  เพราะท่านเจ้าเมืองถือเป็นลางว่าการตั้งบรรดาศักดิ์ให้เป็นหลวงอายุไม่ยืน  จึงตั้งบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระ  ต่อมาจะเป็นปี  พ.ศ.  เท่าไรเราไม่ทราบ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๕  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า  พระราชทานสัญญาบรรดาศักดิ์ให้เป็น  “พระวิเศษสัคควิสัย”
           ๔.  พระวิเศษสัคควิสัย  (ธรรม)  เป็นคนที่สี่เข้าใจว่าสมันต่อมา  ท่านก็คงจะไม่มีอำนาจรับผิดชอบการงานในหน้าที่อย่างเต็มที่  อย่างเหมือนท่านทั้งสามทำมาแต่ก่อนๆ  เพราะในระยะหลังนี้รัฐบาลได้ขยายการปกครองออกไปตามหัวเมืองต่างๆ  ให้มีนายอำเภอ  กำนัน  ผู้ใหญ่  บ้านปกครองดูแลราษฏรต่างพระเนตรตามลำดับแล้ว  แต่ก็ก็น่าจะได้พิจารณาการงานในหน้าที่ที่ท่านรับผิดชอบไว้บ้าง  การพิจารณาตามนามบรรดาศักดิ์ของท่าน  เพราะแต่งตั้งบรรดาศักดิ์  ส่วนมากถือเอาการงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ  และสถานที่อยู่เป็นสำคัญถึงแม้จะไม่ถูกต้อง  ก็ยังมีประโยชน์ที่ทำให้ท่านผู้อ่าน  โดยเฉพาะบันดาลูกหลานของท่านและชาวบ้านหาดเสี้ยวให้ทราบความหมายบรรดาศักดิ์ ของท่านบ้าง  เพราะนามบรรดาศักดิ์ของท่านเป็นศัพท์ภาษามคธแผลงเป็นไทย  ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาภาษามคธ  จะไม่ทราบความหมายของนามบรรดาศักดิ์นี้เลย  นามบรรดาศักดิ์ของท่าน  เมื่อแยกออกเป็นคำๆ  แยกได้ดังนี้
           “วิเศษ”  แปลว่า  ดี  หรือตรงตัวว่า  วิเศษ  หรือแปลว่าทับศัพท์ว่า  พิเศษ  ก็ได้  “สัคค” แปลว่าสวรรค์  “วิสัย”  แปลได้หลายอย่าง  เฉพาะในที่นี้ต้องแปลว่า  ดินแดนที่อยู่อาศัยดังนั้น  “วิสัย”  จึงแปลเอาความว่า  โลก  “สัคควิสัย”  ก็คือสวรรคโลกนั้นเอง  “วิเศษสัคควิสัย”  หมายความว่าผู้วิเศษหรือคนดีของเมืองสวรรคโลก  หรือผู้ทำหน้าที่ราชการพิเศษของเมืองสวรรคโลก  ซึ่งตรงกับคำว่ากรมการพิเศษ  จะถือเอาความว่าอย่างไหนได้ทั้งนั้น  เป็นอันถูกต้องทุกอย่าง  ถ้าไม่เป็นคนดีคนวิเศษ  ก็จะไม่ไม่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น  “พระวิเศษสัคควิสัย”  ทำหน้าที่ราชการพิเศษ สุดแต่ทางราชการจะมอบหมายเพราะมีผู้ทำหน้าที่โดยตรงอยู่พร้อมแล้ว  คือนายอำเภอ  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  จะกล่าวเรื่องกำนันแทรกไว้ด้วย  ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า  เมื่อท่านจะได้รับแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระสุวรรณ  สืบต่อจากหลวงศรีพี่ชายของท่านเท่านั้น  เนื่องด้วยนายคำมูล  บุตรของหลวงศรี  มีอายุได้เพียง  ๑๙  ปี  ยังไม่บรรลุนิติภาวะ  ต่อมานายคำมูลมีอายุได้  ๒๓  ปี  ในปี  พ.ศ.  ๒๔๓๔  ทางราชการได้แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้เป็น  “หลวงเทพภักดี” เมื่อมีอายุได้ ๓๑ ปี  ในปี  พ.ศ.  ๒๔๔๒  ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกำนันตำบลหาดเสี้ยว  ต่อมาเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  สมัยนั้นดูเหมือนจะเป็นท่านจ้าพระยาสุรสีห์วิสิทธิศักดิ์  ได้มีประทานแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้เป็น  “หลวงเกษมหาดเสี้ยว”  และได้ทำหน้าที่เป็นกำนันสืบต่อมา  เพื่อให้พี่น้องชาวบ้านหาดเสี้ยวทราบว่า  วงศ์ตระกูลของท่านแสนจันทร์  ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือราชการในด้านการปกครอง  เป็นระยะเวลามากน้อยเพียงไร  ควรจะได้กล่าวไว้ด้วย  เมื่อหลวงเกษมหาดเสี้ยวถึงแก่กรรมแล้ว  ทางอำเภอได้แต่งตั้ง  ส.ต.ต.  นาค  วงศ์วิเศษ  บุตรหลวงเกษมหาดเสี้ยว  เป็นกำนันตำบลหาดเสี้ยว      เมื่อ ส.ต.ต.  นาค    วงศ์วิเศษ  ถึงแก่กรรมแล้ว  ทางอำเภอได้แต่งตั้งน้องชายของ  ส.ต.ต.  นาคฯ  คือนาย  ชำนาญ      วงศ์วิเศษ  เป็นกำนันตำบลหาดเสี้ยวทำหน้าที่สืบต่อมาจนกระทั่งปี  พ.ศ.  ๒๕๐๘  จึงได้ลาออก  คำนวณเวลาตั้งแต่ปีฉลองวัดคือ  พ.ศ.  ๒๓๘๗  เป็นเวลา  ๑๒๑  ปี  ดังนั้นวงศ์ตระกูลของท่าน   แสนจันทร์  ซึ่งต่อมาได้รับนามสกุลว่า  “วงศ์วิเศษ”  ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือราชการในด้านการปกครองมาเป็นเวลาประมาณ  ๑๒๐  ปีเศษ  นอกจากนี้  ยังมีผู้ทำหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านอีก  คือ  ผู้ใหญ่วิฑูร  วงศ์วิเศษ  ผู้ใหญ่โยธา วงศ์วิเศษ  ทั้งสองท่านเป็นบุตร  พระวิเศษสัคควิสัย 
           ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า  เมื่อพระวิเศษสัคควิสัย  ได้รับแต่งตั้งทำหน้าที่สืบต่อจากพี่ชายของท่านนั้น  ต่อมาได้มีนายอำเภอ  กำนันผู้ใหญ่บ้านปกครองโดยตรงขึ้น  เรื่องกำนันได้กล่าวมาแล้ว  ควรจะกล่าวเรื่องนายอำเภอไว้บ้าง  แต่จะไม่กล่าวถึงชื่อนายอำเภอจะกล่าวเฉพาะที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ  เพราะเมื่อท่านแสนสามพี่น้องนำญาติพี่น้องมาตั้งภูมิลำเนาที่บ้านหาดเสี้ยว นั้นยังไม่มีที่ว่าการอำเภอ  มาตั้งขึ้นในภายหลัง  จึงเป็นเรื่องที่ชาวบ้านหาดเสี้ยวควรจะได้ทราบไว้  แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ข้าพเจ้าไม่สามารถค้นหาปี  คือ  พ.ศ.  ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ  และการโยกย้ายที่ว่าการอำเภอมากล่าวไว้ด้วยได้
          ที่ ว่าการอำเภอนั้นตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกที่บ้านตึก ปัจจุบันเป็นตำบลบ้านตึก  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย  ตั้งชื่ออำเภอว่า  “อำเภอด้ง” ชื่อนี้ในพงศาวดารกล่าวไว้ว่า เมื่อพระเจ้าติโลกราช  เจ้า  เมืองเชียงใหม่ลงมาตีเมืองชะเลียง  เมื่อยึดเมืองชะเลียงไว้ได้  แล้วจึงให้เป็นหมื่นด้งนครตั้งกองรักษาเมืองไว้  สถานที่หมื่นด้งนครตั้งกองรักษาเมืองอยู่นั้น  ต่อมาเรียกว่าเมืองด้ง  ในปัจจุบันนี้ตั้งอยู่  ณ  ที่ไหน  ไม่มีใครทราบเลย  แต่ก็คงอยู่ในอาณาเขตของอำเภอศรีสัชนาลัยนี้เอง  ดังนั้น  เมื่อตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้นที่บ้านตึก  จึงเอาชื่อเมืองด้งมาตั้งเป็นชื่ออำเภอ  “อำเภอด้ง”  ก็อาจเป็นไปได้  ทั้งนี้เป็นความคิดเห็นของข้าพเจ้าผู้เรียบเรียง  ที่ว่าการอำเภอด้งตั้งอยู่ที่บ้านตึกเป็นเวลาประมาณ  ๑๒  ปี  แล้วย้ายมาตั้งอยู่ที่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยมตรงข้ามกับบ้านป่างิ้ว  และก็คงเรียกชื่อว่า  อำเภอด้ง  ตั้งอยู่  ณ  ที่นี่เป็นเวลาประมาณ  ๕  ปี  แล้วจึงย้ายมาตั้ง  ณ  ที่บ้านหาดเสี้ยว  ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัยปัจจุบัน  และก็ยังคงเรียกชื่อว่าอำเภอด้งอีกเช่นเดียวกัน  ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตรงกับหมู่บ้านที่อำเภอตั้งอยู่ว่า  อำเภอหาดเสี้ยว  หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วดูเหมือนจะเป็น  พ.ศ.  ๒๔๘๐  ได้เปลี่ยนชื่อเป็น  อำเภอศรีสัชนาลัย  และยังใช้ชื่อนี้อยู่จนกระทั่งบัดนี้  ขอย้อนกลับไปกล่าวถึงเรื่องบรรดาศักดิ์ของพระวิเศษสัคควิสัยอีกต่อไป  ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า  บรรดาศักดิ์  “พระวิเศษสัคควิสัย”  หมายความว่า  “คุณพระผู้ทำหน้าที่ราชการพิเศษเมืองสวรรคโลก”  หากจะมีผู้ถามว่า  ราชการพิเศษนั้นคือราชการงานชนิดไหน  ก็ตอบให้ได้แต่เพียงว่า  ทั้งนี้  สุดแล้วแต่ทางราชการจะมอบหมายให้ทำอะไร  ตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น  ดูเหมือนจะเป็นการเหมาะสมมากกว่าที่จะหมายความอย่างอื่น  ราชการงานพิเศษที่ท่านได้รับมอบหมายให้ทำ  ซึ่งจัดว่าเป็นการงานที่สำคัญ  สมควรจะนำมากล่าวไว้บ้าง  จึงขอนำมากล่าวไว้ดังต่อไปนี้  คือ 
           ๑.  ในปี  พ.ศ.  ๒๔๔๕  พวกฮ่อ  (ชาวบ้านหาดเสี้ยวเรียกว่าเงี้ยว  การถูกเกณฑ์ไปรบครั้งนี้  ก็เรียกว่าไปรบทัพเงี้ยว)  ก่อการกบฏขึ้นที่จังหวัดแพร่  พระวิเศษสัคควิสัยได้รับคำสั่งให้รวบรวมกำลังพลไปตั้งอยู่ที่แม่ฮู้  (แม่หมายความถึงแม่น้ำลำคลองและเรียกกันว่าห้วยบ้าง)  ริมฝั่งแม่น้ำยมทางด้านตะวันออก  ปัจจุบันเป็นบ้านปากสิน  หมู่ที่  ๔  บ้านแม่ฮู้หมู่ที่  ๕  ตำบลปากสิน  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย  ซึ่งเป็นอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่  ส่วนทางด้านตะวันออกพระยาพิศาล  เจ้าเมืองอุตรดิตถ์  ได้รับคำสั่งให้รวบรวมกำลังพลไปตั้งอยู่ที่เขาพลีทั้งสองแห่งนี้  เป็นการคาดหมายว่าเป็นเส้นทางที่พวกฮ่อ  จะยกกำลังเดินทางลงมาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  และก็เป็นความจริงตามที่คาดหมายไว้  พวกฮ่อได้ยกกำลังลงมาทางด้านเขาพลึง  ได้ปะทะกันกับกำลังของพระยาพิศาล  จึงได้เกิดการต่อสู้รบกันขึ้นมา  พวกฮ่อเห็นเหลือกำลังสู้ไม่ไหวจึงได้ล่าถอยกลับไป  ส่วนทางด้านพระวิเศษสัคควิสัย  ไม่มีเหตุการณ์อะไรเกี่ยวกับข้าศึก  แต่ก็มีเรื่องเกิดขึ้นในระหว่างพวกกันเอง  ซึ่งได้เล่าสืบต่อกันมา  จึงขอนำมากล่าวไว้ด้วย  ทั้งนี้มิได้มุ่งหมายความว่าเห็นเป็นเรื่องขบขัน  แต่มุ่งหมายเพื่อให้ทราบว่า  คนเรานั้น  ย่อมมีความรู้ความฉลาดสามารถหาวิธีป้องกันตัวตามยุคตามสมัยของแต่ละยุคแต่ละ สมัย  กำลังพลที่เกณฑ์ไปตั้งรับสกัดนั้นพวกฮ่อครั้งนี้ก็เป็นราษฎร
ชายฉกรรจ์ธรรมดา  ไม่ได้เป็นทหาร  ทั้งไม่เคยได้รับการฝึกรบราฆ่าฟันกันเลย  การจัดเวรยามให้คอยดูแลรักษาเหตุการณ์  การจัดคนไปลาดตระเวนอะไรทำนองนี้  เข้าใจว่าคงไม่ได้ทำ  เวลาค่ำคืนก็คงพากันหลับนอนอย่างสบาย  แต่ท่านก็มีวิธีการทำสัญญาณ  สำหรับบอกเหตุการณ์เมื่อเข้าศึกผ่านเข้ามาขึ้นไว้  เท่ากับว่าท่านมีความรู้ความฉลาดสามารถทำสัญญาณบอกเหตุการณ์แทนคนได้  ถ้าจะพูดอย่างสมัยปัจจุบันนี้  ก็อาจจะพูดได้ว่าท่านมีความรู้ความสามารถ  สร้างเครื่องยนต์กลไก  หรือหุ่นยนต์เป็นยามเพื่อรายงานเหตุการณ์แทนคนได้  และก็ได้ผลจริงๆ  การทำสัญญาณนั้น  เรียกตามภาษาชาวบ้านหาดเสี้ยวว่า  “ทำเฮิบ  หรือ  ขัดเฮิบ”  ทำด้วยไม้เมื่อถูกกระทบก็จะมีเสียงดังขึ้น  ดูเหมือนจะทำไว้หลายแห่งตามช่องทางซึ่งคาดคะเณว่าข้าศึกจะผ่านเข้ามา  เมื่อข้าศึกเดินมากระทบเฮิบหรือสายเฮิบเข้าก็จะมีเสียงสัญญาณดังขึ้น  บังเอิญใสคืนวันหนึ่ง  ม้าของพระวิเศษสัคควิสัยไว้หลุดวิ่งกระทบเฮิบหรือสายเฮิบเข้า  เสียงสัญญาณก็ดังขึ้น  เมื่อทุกคนได้ยินเสียงสัญญาณดังขึ้นก็พากันนึกว่าข้าศึกเข้าโจมตีต่างคนต่าง จับอาวุธประจำตัวเพื่อต่อสู้ข้าศึก  พวกขลาดกลัวเข้าใจว่าคงเป็นพวกส่งเสบียงพากันเก็บหม้อข้าวหม้อแกงบรรจุลง ย่ามตะพายวิ่งหนีเอาตัวรอด  บ้างคนกระโดนลงแม่น้ำลำคลอง  พอรุ่งเช้าขึ้นจึงทราบว่ามีผู้คนหายไปบ้าง  แต่ก็เข้าใจว่าคงกลัวและหนีเอาตัวรอดในเวลากลางคืน  ประจวบกับได้ข่าวทางด้านพระยาพิศาลว่า  พวกฮ่อล่าถอยกลับไปแล้วจึงได้รวบรวมกำลังพลกลับ  เมื่อกลับมาแล้วก็ได้พิจารณาโทษพวกที่หนีพอสมควร แต่ไม่ถึงคอคาดบาดตาย
           ๒.  ในการต่อมาจะเป็นปี  พ.ศ.  เท่าไรไม่ทราบ  ทางราชการมีความจำเป็นจะต้องใช้ชายฉกรรจ์  ไปรักษาพระราชอาณาเขตชายแดนทางด้านติดต่อกับประเทศลาว  เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฝรั่งเศส  ซึ่งในขณะนั้นไปยึดครองอินโดจีนทั้งหมดอยู่แล้ว  ตามที่ทราบกันอยู่แล้วโดยทั่วไป  เพราะมีปรากฏอยู่ในพงศาวดารแล้ว  ข้าพเจ้าไม่จำเป็นจะต้องนำมากล่าว  จะกล่าวแต่เฉพาะที่ชาวบ้านหาดเสี้ยว  ได้มีส่วนช่วยเหลือป้องกันพระราชอาณาเขตเท่านั้น  และเหตุการณ์ในครั้งนั้น  เกิดขึ้นในสมัยพระวิเศษสัคควิสัยยังปฏิบัติหน้าที่ราชการรวมอยู่กับนาย อำเภอ  กำนันผู้ใหญ่บ้านในครั้งนี้  กำนันตำบลหาดเสี้ยว  ได้รับคำสั่งให้คัดเลือกชายฉกรรจ์  เพื่อไปเป็นทหารทำหน้าที่รักษาชายแดน  เรียกว่าไปขัดตาทัพคือไปประจำการอยู่ที่ม่วง  ๗  ต้น  ซึ่งเป็นอาณาเขตชายแดนติดต่อกับประเทศลาว  ปัจจุบันนี้ม่วง  ๗  ต้น  ขึ้นอยู่กับอำเภอฟากท่า  จังหวัดอุตรดิตถ์  การคัดเลือกชายฉกรรจ์ครั้งนี้  ได้ชายฉกรรจ์ไปขัดตาทัพอยู่ที่ม่วง  ๗  ต้นพอสมควร  ไม่มากเหมือนเกณฑ์ไปปราบกบฏอยู่ฮ่อ  เพราะจะต้องประการอยู่นาน  ต้องคัดเลือกชายฉกรรจ์ที่ไม่มีพันธะใดๆ  ทั้งสิ้น  ปรากฏว่าไปขัดตาทัพอยู่เป็นเวลาถึง  ๙  เดือน  ข้าพเจ้าแน่ใจว่าราชการพิเศษที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเช่นนี้พระวิเศษสัค ควิสัย  ก็จะมีส่วนได้ช่วยเหลือทุกครั้งทุกคราวด้วยอย่างน้อยก็ต้องเป็นที่ ปรึกษา  เพราะกำนัน  ก็เป็นหลานของท่านเมื่อหลานชายมีหน้าที่ราชการจะต้องทำ  ท่านก็คงไม่นิ่งดูดาย  ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการมาด้วยความเรียบร้อยดีโดยตลอด  ไม่บกพร่องเสียหายอย่างไรเลย  เมื่อท่านถึงแก่กรรมก็ได้รับพระราชทานเพลงตามระเบียบ  ในพิธีพระราชทานเพลิงศพของท่านได้รับพระราชทานของหลวง  คือ  เงิน  ๑,๐๐๐  สตางค์  ผ้าขาว  ๒  ทับ  ตามระเบียบขัตติยราชประเพณีในสมัยนั้นด้วย
           คุณพระวิเศษสัคควิสัย  ในสมัยเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่  ได้ทำคุณความดีมาทั้งในด้านส่วนตัวและในด้านส่วนราชการ  ถึงแม้ว่าท่านจะถึงแก่กรรมไปเป็นเวลานานแล้ว  นาม  (ชื่อ)  ของท่านก็ยังปรากฏให้บรรดาลูกๆ  หลานๆ  ของท่านได้รู้ได้เห็นได้ยินได้ฟังอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้และยังปรากฏอยู่ต่อ ไปอีกชั่วกาลนาน  ตลอดกาลที่ประเทศไทยยังเป็นคนไทยอยู่  นาม  (ชื่อ)  ของท่านก็คือนามบรรดาศักดิ์ของท่าน  คือ  “พระวิเศษสัคควิสัย)  ได้ย่อมาเป็นนามสกุลว่า  “วงศ์วิเศษ”  ซึ่งคุณหลวงเกษมหาดเสี้ยวเป็นผู้ขอตามบันทึกของท่านชำนาญ  วงศ์วิเศษ  อดีตตำบลหาดเสี้ยวส่งมาให้ข้าพเจ้ามีใจความ  ดังนี้
           “เมื่อปี  พ.ศ.  ๒๔๘๕  หลวงเกษมหาดเสี้ยว  กำนันตำบลหาดเสี้ยว  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย  สมัยนั้นเรียกว่าอำเภอด้ง  จังหวัดสวรรคโลก  ได้ไปแสดงงานกสิกรรม  ที่จังหวัดพิษณุโลก  เวลานั้นเรียกว่ามณฑลพิษณุโลก  เพราะเป็นที่ตั้งทำการมณฑล  คุณหลวงเกษมหาดเสี้ยว  ไปถือโอกาสกราบเรียนปฏิบัติพระยาสุรบดินทร์สุรินทร์ฤชัย  สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกขอให้ท่านตั้งนามสกุลให้  ท่านเจ้าคุณสมุหเทศาภิบาล  หรือเรียกเป็นคำย่อว่า  ท่านเจ้าคุณเทศาฯ  ได้ถามชื่อบรรพบุรุษของคุณหลวงเกษม  ตั้งแต่อพยพมาจากประเทศลาวจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้คุณหลวงเกษมฯ  ได้กราบเรียนปฏิบัติให้ท่านทราบโดยละเอียด  ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น
           เมื่อท่านเจ้าคุณเทศาฯ  ได้ทราบและพิจารณานามและบรรดาศักดิ์บรรพบุรุษของคุณหลวงเกษมฯ  โดยละเอียดแล้วจึงชี้แจงแก่คุณหลวงเกษมฯ  ว่า  พระวิเศษสัคควิสัย  ผู้เป็นอาของคุณหลวง  มีบรรดาศักดิ์สูงกว่าทุกๆ  คน  ทั้งนามบรรดาศักดิ์เป็นมงคลนามด้วย  เพราะเป็นราชทินนาม  คือเป็นนามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน  เพื่อเป็นศิริมงคลแก่วงศ์ตระกูลสืบต่อไป  จงเอานามบรรดาศักดิ์ของพระวิเศษสัคควิสัยเป็นนามสกุลเถิด  แล้วท่านได้ตั้งนามสกุลให้ว่า
“วงศ์วิเศษ”  นามผู้รับ  หลวงเกษมหาดเสี้ยว  พ.ศ.๒๔๕๘
           ข้าพเจ้าขอย้อนกล่าวถึงเรื่องปีที่ชาวไทยพวน  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย  อพยพมาจากเมืองพวนอีกครั้งหนึ่ง  คือชาวไทยพวนอำเภอศรีสัชนาลัย  อพยพมาจากเมืองพวนต้องอพยพมาก่อนปี  พ.ศ.๒๓๘๗  อย่างน้อยประมาณ  ๕-๖ ปี  อย่างแน่นอนเมื่ออพยพมาเลือกหาสถานที่เหมาะสมได้แล้ว  ก็จะต้องปลูกบ้านสร้างเรือนเป็นที่อยู่อาศัย  และเลือกหาพื้นที่ทำมาหาเลี้ยงชีพทั้งสร้างวัดวาอารามเป็นที่อยู่อาศัยของ พระภิกษุสามเณร  กว่าจะเสร็จเรียบร้อย  อย่างน้อยก็จะใช้เวลาประมาณในราว  ๔-๕  ปีแล้วจัดการฉลองวัด  ปรากฏว่าได้ทำการฉลองวัดและโบสถ์ในปี  พ.ศ.  ๒๓๘๗  ซึงมีศิลาจารึกติดอยู่ที่ฝาผนังโบสถ์เป็นหลักฐาน
           เมื่อคำนวณดูตาม  พ.ศ.  ที่ฉลองวัดและโบสถ์  ถึง  พ.ศ.  ๒๕๑๕  เป็นเวลา  ๑๒๘  ปี  โบสถ์หลังนี้ควรถือเป็นโบราณวัตถุได้แล้ว  ถ้าเห็นว่าเล็กไม่เหมาะกับกาลสมัยที่บ้านเมืองเจริญขึ้น  แต่ก็ควรทราบว่าท่านได้สร้างถูกต้องตามพระราชบรมพุทธานุญาต  คือพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ว่า  โบสถ์ขนาดเล็กต้องจุพระสงฆ์ได้  ๒๑  รูป  หากมีความกำลังความสามารถจะสร้างโบสถ์ขึ้นใหม่ให้ใหญ่กว่านี้  ก็ไม่ควรรื้อโบสถ์เดิมเสียควรรักษาไว้ใช้เป็นประโยชน์อย่างอื่น  เช่นเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของนักค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา  เพราะโบสถ์ที่หันไปทางทิศใต้  ในประเทศเราทั้งประเทศมีอยู่ไม่กี่หลัง  และเพื่อนเป็นที่เจริญสมถกัมมัฎฐานของท่านที่เจริญกัมมัฎฐาน  เพราะเป็นที่สถานที่สงบดี  นอกจากนี้ยังจะเป็นอนุสรณ์ถึงบรรพบุรุษของเรา  ซึ่งได้อพยพมาจากเมืองพวนและสร้างวัดสร้างโบสถ์ขึ้นไว้  ด้วยจิตใจศรัธาเสื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง  และได้เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนกระทั่งบัดนี้  ส่วนการที่จะสร้างโบสถ์ขึ้นใหม่นั้น  ควรพิจารณาสร้างในสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม  เพราะวัดยังมีที่พอจะสร้างได้  ข้าพเจ้าขอฝากความคิดเห็นนี้ไว้กับลูกหลานชาวบ้านหาดเสี้ยวด้วย  ขอให้ช่วยกันรักษาไว้และคอยบูรณะซ่อมแซมสิ่งที่ปรักหักพังเพื่อให้ดำรงอยู่ ยั่งยืนนาน  ถ้าเรารื้อเสียจะไม่มีอะไรเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงบรรพบุรุษของเราฯ

เมื่อข้าพเจ้าได้รับคำขอร้องให้เขียนเรื่องประวัติชาวไทยพวน  โดยเฉพาะเรื่องชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย  ประเด็นที่สำคัญประการแรกที่ข้าพเจ้าจะค้นคว้า  คือคำว่า  “พวน”  ซึ่งเป็นคำเรียกชื่อชาวไทยพวนสาขาหนึ่ง  มีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพวนแขวงเชียงขวาง  ในประเทศลาว  มีความหมายว่ากระไร  เหตุใดจึงเรียกชื่อ  “พวน”  กาค้นคว้าได้ตั้งคำที่จะค้นไว้คือ  “พวน  คนพวน  ชาวพวน  ไทยพวน  ลาวพวน”  หนังสือที่จะค้นคือ  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  อักขรานุกรมภูมิศาสตร์  ปทานุกรมกระทรวงธรรมการซึ่งเลิกใช้แล้ว  แต่ก็ต้องผิดหวัง  เพราะไม่มีคำว่า  “พวน”  ซึ่งให้ความหมายเป็นชื่อเรียกคนเลยมีแต่  “พวน  เชือกเกลียว  แนว  นวดข้าวที่นวดแล้ว  หรืออ้อยซึ่งหีบครั้งที่สอง”  ไม่ตรงกับความต้องการของข้าพเจ้า  แต่ข้าพเจ้าก็ยังไม่หมดหวังเลยทีเดียว  จึงพยายามสืบต่อไป  คราวนี้ได้ตั้งจุดมุ่งหมายเพื่อไปพบปะผู้คนที่เคยไปเมืองพวนมาแล้ว  เพื่อสอบถามถึงความเป็นไปของชาวไทยพวน  และภูมิประเทศของเมืองลาว  เมื่อพบปะเพื่อนฝูงก็เอ่ยปากถามเรื่อยไป  บังเอิญครั้งหนึ่งได้พบกัน  พ.อ.  สุข  เจริญรัตน์  อนุศานาจารย์  กรมยุทธศึกษาทหารบก  สมัยนั้นมียศเป็น  พ.ท.  ซึ่งเคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของข้าพเจ้า  ในสมัยเมื่อข้าพเจ้ายังรับราชการอยู่  จึงถามเรื่องที่ต้องการ  ได้รับคำตอบว่า  บิดาของ  พ.อ.  สุข  ฯ  นั้นเองเคยไปเมืองพวนมาแล้ว  และรับปากว่าจะสอบถามให้  ได้ความอย่างไรจะบันทึกส่งไปให้  ข้าพเจ้าจึงขอร้องว่า  ขอให้เขียนเรียบเรียงให้เลย  แม้จะสันนิษฐานตามความคิดเห็นก็ได้  เพราะเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์ศัพท์แลง  พ.อ.  สุข  ฯ  ก็สนใจเป็นพิเศษอยู่แล้ว  ข้าเจ้าเชื่อถือมานานแล้ว  เมื่อจำนนต่อศัพท์แสงอะไร  ไม่ว่าจะเป็นภาษามคธ  หรือคำพูดของคนไทยภาคต่าง  ๆ  ก็ได้สอบถามอยู่เสมอ  การขีดเขียนก็อยู่ในเกณฑ์ดี  ใช้ถ้อยคำสำนวนสุภาพและอ่านเข้าใจง่าย  สำหรับข้าพเจ้า  เรื่องการขีดเขียนเป็นไม้เยื่อไม้เมาเหลือที่สุด  จึงได้ขอร้องเขียนได้เลย  ในที่สุด  พ.อ.  สุข  เจริญรัตน์  ก็ได้เขียนส่งมาให้  ต่อมาได้มาพบกับข้าพเจ้าและบอกว่า  ขอให้พิจารณาเก็บเอาใจความเรียบเรียงตามใจชอบ  เพราะเขียนที่สันนิษฐานว่าจะเป็นเช่นนั้นอาจจะผิดก็ได้  ข้าพเจ้าตอบว่า  ที่เขียนมานั้นเรียบร้อยดีทุกอย่างแล้ว  แม้จะเป็นการสันนิษฐานเหตุก็น่าฟัง  เมื่อยังไม่ได้เหตุผลที่ดีไปกว่านี้  ก็ควรรับฟังเหตุผลนี้ก่อน  จนกว่าจะได้เหตุผลที่ดียิ่งกว่านี้  จึงขอนำเรื่องที่เขียนลงมาทั้งหมด  และไม่ได้แก้ไขอะไรด้วย  เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่  พ.ท.  สุข  เจริญรัตน์  เท่ากับเป็นการแบ่งเบาภาระของข้าพเจ้าลงไปเรื่องหนึ่ง  ข้าพเจ้าขอขอบใจ  พ.อ.  สุข  เจริญรัตน์  และขอนำมาเสนอท่านผู้อ่านดังต่อไปนี้
           คำว่า  “พวน” เป็นชื่อของคนไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งทางภาคอีสานเรียกว่า “ไทยพวน” แต่ทางภาคกลางเรียกว่า “ลาวพวน” ถ้าจะตั้งปัญหาถามว่า เหตุใดจึงได้นามเช่นนั้น  คำตอบที่ถูกต้องจะหายาก  แต่อาจสันนิษฐานได้ตามเหตุดังต่อไปนี้
           ชื่อของไทยสาขาต่าง  ๆ  สังเกตได้ว่าตั้งตามเครื่องแต่งกายบ้าง  ตั้งตามถิ่นที่อยู่และอื่น  ๆ  อีกบ้าง
           ตั้งตามเครื่องแต่งกาย  เช่น  ไทยดำ  เพราะเสื้อและกางเกงที่สวมใส่มีสีดำ  ไทยโซ้งหรือลาวโซ้ง  เพราะนุ่งกางเกงผิดจากไทยสาขาอื่นที่นิยมนุ่งผ้านุ่งตามแบบอินเดียและเขมร
           ตั้งตามปริมาณของคนบ้าง  เช่น  ไทยน้อย  ไทยใหญ่  คือ  ไทยน้อยมีจำนวนคนน้อยกว่า  เพียง  ๑๒  เจ้าไทยเท่านั้น  ส่วนไทยใหญ่มีจำนวนมาก  คือมีถึง  ๑๒  เจ้าฟ้า  ซึงแสดงถึงจำนวนของหัวเมืองและปริมาณของพลเมือง
            ตั้งตามถิ่นที่อยู่อาศัย  คือตามธรรมดาคนไทย  เมื่ออพยพแยกย้ายกันไปอยู่ที่ต่าง  ๆ  นิยมเอาชื่อแม่น้ำ  ห้วย  หนอง  คลอง  บึง  บาง  ภูเขา  ต้นไม้  ตลอดถึงลักษณะภูมิประเทศ  เป็นชื่อบ้านชื่อเมือง  เช่นเชียงขวาง  (ชื่อแม่น้ำโขง  เชียง  เมือง  ของ  โขง)  บ้านน้ำก่ำ  บ้านห้วยทราย  บ้านหนองขอนขว้าง  บ้านบึงกาฬ  เมืองหนองหาร  เมืองบางทราย  บ้านภูพาน  บ้านบก  (บ้านกะบก)  บ้านโนนสูง  (เนินสูง)  บ้านโคกช้างให้  ฯลฯ
           มี ชื่อบ้านแล้ว  ก็เรียกคนบ้านนั้นตามชื่อบ้าน  เช่นไทยเชียงของ  ไทยเมืองหนองหาญ  ไทยบ้านห้วยทราย    ไทยบ้านภูพาน  ฯลฯ  ต่อมาคำเรียกชื่อก็หดสั้นเข้าโดยตัดคำว่าเมือง  ว่าบ้านนอก  เหลือแต่ไทยหนองหาร  ไทยห้วยทราย  ไทยภูพาน  ฯลฯ  ยิ่งกว่านั้นยังตัดคำว่าหนอง  ห้วย  และภูออกอีก  เหลือแต่ไทยโบราณ  ไทยทราย  ไทยพาน  ฯลฯ  พอให้รู้ความหมายกันว่าเป็นพวกไหน  เมื่อพูดถึง  นานเข้าคำที่เรียกแทนชื่อนี้เลยกลายเป็นสมญาของไทยแต่ละถิ่นไป
          คำ ว่า  “พวน”  ซึ่งเป็นสมญาของไทยสาขาหนึ่ง  ก็คงทำนองเดียวกันคือเรียกชื่อตามถิ่นที่อยู่  ไทยสาขานี้ส่วนใหญ่อยู่ที่แขวงเชียงขวาง  ประเทศลาว  แตะเหตุไรจึงได้นามตามเมืองว่า  “ไทยพวนเชียงขวาง”  หรือ  ไทยขวาง  กลับได้นามว่า  “พวน”
           เรื่องนี้  เป็นปัญหาจะต้องสันนิษฐานกันอีก  คือในเชียงขวางมีภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า  “ภูพาน” แรกที่ไทยสาขานี้อพยพมาอยู่ เข้าใจว่าคงจะอยู่ใกล้กับภูพาน และคงได้ตั้งชื่อบ้านหรือเมืองที่มาตั้งใหม่นั้นว่า  บ้านภูพวน  หรือเมืองภูพาน  ซึ่งเรียกสั้น  ๆ  ก็ว่า  “บ้านพวน”  หรือ  “เมืองพวน”  ต่อมาเมื่อย้ายเมืองใหม่จึงได้ชื่อว่า  “เชียงขวาง”  แต่เพราะคำว่า  ไทยเมืองพวนหรือไทยพวนเรียกกันมาจนชินแล้ว  จึงไม่นิยมเรียกตามชื่อใหม่คงนิยมเรียกตามชื่อเก่าตลอดมาเหมือนกับกรุงเทพ ฯ  ซึ่งชื่อเดิมเรียกว่า  “บางกอก”  (เพราะศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่คลองบางกอกใหญ่)  แม้จะมีนามใหม่ว่า 
กรุงธนบุรีบ้าง  กรุงเทพมหานครฯ บ้าง  คนก็ยังเรียกกันว่าบางกอกติดปากเสมอ  โดยเฉพาะคนต่างจังหวัด
          ถิ่น ที่อยู่ของไทยพวน  นอกจากที่เชียงขวางแล้ว  ยังกระจายไปอยู่ที่อื่นอีกทั่วบริเวณลุ่มแม่น้ำในเขตประเทศลาว  เช่นบ้านหาดสวน  พันทอง  ตาลเปี่ยว  หาดเสี้ยว  บุ่งพร้าว  ตลิ่งชัน  บ้านเกิน  (ต่อมาเป็นเมืองตุลาคม)  ฯลฯ
           สมัยกรุงธนบุรี  เมื่อประเทศลาวได้รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันกับประเทศไทยจนถึงสมัยกรุงรัตน โกสินทร์  แผ่นดินรัชกาลที่  ๓  พลเมืองทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงได้ถูกกวาดต้องมาอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงหลาย ท้องถิ่นด้วยกัน  ทั้งภาคอีสานและภาคกลาง  คนไทยพวนก็ถูกกวาดต้อนมาด้วย  และได้กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่าง ๆ  ทั้ง  ๒  ภาค  ภาคอีสาน  เช่นที่อำเภอผือ  จังหวัดอุดรธานี  ภาคกลาง  เช่นที่จังหวัดพิจิตร  จังหวัดสุโขทัย  ลพบุรี  สระบุรี   สุพรรณบุรี  ฉะเชิงเทรา  และอื่น  ๆ  อีก
           มีสิ่งที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง  คือ  คนเหล่านี้เมื่อถูกกวาดต้อนมาจากบ้านเมืองใด  มักจะตั้งชื่อบ้านเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ตามชื่อเดิมเหมือนกับคนไทยสาขาอื่นๆ ที่ถูกกวาดต้อนมาพร้อมกัน  เช่น เมืองเรณูนครเป็นต้น
           เฉพาะชาวบ้านหาดเสี้ยว  คงจะเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่โตมาก  นอกจากที่ตกค้างอยู่ในหมู่บ้านหาดเสี้ยวเดิมแขวงเมืองตุลาคมประเทศลาวมาแล้ว  ยังมาอยู่ที่ตำบลหาดเสี้ยว  จังหวัดสุโขทัย  และที่อำเภอแก่งคอย  จังหวัดสระบุรี  เฉพาะที่อำเภอแก่งคอย  มีทั้งบ้านหาดเสี้ยวและบ้านตาลเบี่ยว  แต่บานตาลเบี่ยว  เปลี่ยนชื่อเป็นตาลเดี่ยว  (ตาลเบี่ยว  หมายถึง  ตาลเพรียว  คือสูงมาก  แต่ตาลเบี่ยว  หมายถึงตาลต้นเบี่ยว  หาดเสี้ยวหมายถึง  ท่าน้ำที่มีหาดทรายเสี้ยวคือแหว่งไซหรือมีต้นส้มเสี้ยว 
คือกาหลง  เป็นเครื่องหมาย)
           ภาษาของไทยพวน  ใช้ภาษาไทยแท้  เสียงวรรณยุกต์ใกล้เคียงกับภาษาภาคกลางมากกว่าเสียงของชาวภาคอีสานส่วนมาก  เช่น  แม้ออกเสียงว่า  แม่  ตรงกับภาคกลาง  ไม่ใช้แหม่ หรือแม่น้ำ  ก็ออกเสียงว่า  น้ำ  ไม่ใช่น่าม  เมื่อเทียบเคียงกับภาษาไทยสาขาอื่น  เห็นว่า  ใกล้เคียงกับภาษาผู้ไทย  หรือ  ไทยภู  และภาษาย้อ  คือ  ออกเสียงสระไอไม้ม้วน  เป็นเสียงสระเออเช่น  ใต้  ออกเสียงเป็น “เต้อ”
ให้ออกเสียงเป็น  “เห้อ”  เป็นต้น  ขนบธรรมเนียมประเพณีก็คล้ายคลึงกัน  นับถือพระพุทธศาสนามั่นคงเช่นเดียวกัน
           สรุปความว่า  “พวน”  เป็นชื่อเรียกคนไทยสาขาหนึ่ง  ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองพวนแขวงเมืองเชียงขวาง  ในประเทศลาว  ที่เรียกชื่อว่าเมืองพวนเพราะตั้งอยู่ใกล้ภูเขาว่าภูพานจึงได้ตั้งชื่อเมือง ว่าเมืองพวน  แล้วเอาชื่อเมืองมาเรียกชื่อคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองนั้นว่าคนพวนหรือ ชาวพวน  เพื่อแก้ความข้องใจของคนบางคนซึ่งอาจมีขึ้นได้ว่าก็เมื่อภูเขาชื่อว่าภูพวน  เหตุไรจึงไม่ตั้งชื่อเมืองว่าเมืองภูพาน  เรียกชื่อคนว่าเมืองภูพวน  หรือชาวภูพวนเล่า  จึงขอชี้แจงเพิ่มเติมไว้สักเล็กน้อย  คือเดิมทีเดียวอาจตั้งชื่อว่าเมืองภูพวน  เรียกคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองภูพวนว่าคนพวนหรือชาวภูพวนอาจเป็นไปได้  ต่อมาคำว่าภูก็ลบเลือนหายไป  เรียกกันว่าเมืองพวนตามที่  พ.อ.  สุข  ฯ  กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น  อีกอย่างหนึ่งคำว่าภูเขา  ชาวพวนกันชาวอีสานดูเหมือนจะใช้ตรงกัน  คือคำสองคำนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน  ภูก็คือเขา  เขาก็คือภูเวลาจะใช้ภูเขาก็ใช้แต่เพียงคำเดียวคือคำว่าภู  หรือเขา  คำใดคำหนึ่ง  ไม่ใช้สองคำรวมกัน  เช่น  ภูกระดึง  ภูเขียว  ภูเวียง  เขาพนมเพลิง  เขาพลึง  เขาใหญ่  ถ้าเรียกตามภาษาภาคกลางก็เรียกว่า  ภูเขากระดึง  ภูเขาเขียว  ภูเขาเวียง  ภูเขาพนมเพลิง  ภูเขาพลึง  ภูเขาใหญ่  ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า  การตั้งชื่อเมืองพวน  ท่านอาจจะไม่เอาคำว่าภูหรือเขามาตั้งด้วย  เอาแต่เพียงชื่อภูเขามาตั้งก็เป็นได้  มีตัวอย่างที่ชาวไทยพวนได้ตั้งกันมาแล้ว  เช่นบ้านหมี่  อำเภอบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี  เมื่อชาวไทยพวนอพยพมาตั้งอยู่ถิ่นฐานในตอนแรก  ก็ได้ตั้งชื่อบ้านว่า  บ้านสนามแจง  เพราะตั้งอยู่ใกล้  ภูเขาที่เรียกว่าสนามแจง  ซึ่งตั้งอยู่ที่ตะวันตกของสถานีรถไฟบ้านหมี่   ทั้งนี้ได้ทราบจากผู้เฒ่าผู้แก่ชาวบ้านหาดเสี้ยวซึ่งมาเยี่ยมญาติบ้านสนาม แจงให้ฟัง  การตั้งชื่อบ้านก็เอาแต่ชื่อภูเขามาตั้งไม่ได้เอา
ภูหรือเขามาตั้งด้วย  จึงได้เรียกแต่เพียงว่า  “บ้านสนามแจง”  ต่อมาจึงมาเรียกว่าบ้านหมี่  จะเป็นสมัยไหนข้าพเจ้าไม่ทราบ  คำว่า  “บ้านสนามแจง”  นับวันจะเลือนลางสูญหายไปทุกวัน  ฯ














ชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย  มีการแต่งกายดังนี้  ชายนุ่งกางเกงและผ้านุ่งจูงกระเบน ผ้าขาวม้าพาดบ่าหรือคาดเอว  (เรียกว่าคาดเอวหรือเคียนพุง)  เวลาไปทำบุญให้ทานใช้พาดบ่าบ้าง  เฉวียงบ่าบ้าง  เป็นบางเวลา  หญิงนุ่งผ้าซิ่นผ้าขาวม้ารัดนม  “เรียกว่าแฮ้งตู้” ทั้งชายและหญิงไม่สวมเสื้อ แต่เวลาไปทำนาทำไร่ ต้องสวมเสื้อสีดำหรือสีครามทุกคนชายสวมเสื้อแขนยาวเพียงข้อศอกไม่รัดตัว หญิงสวมเสื้อรัดตัวแขนยาวถึงข้อมือกระดุมเสื้อใช้เงินกลมโบราณหนักเม็ดละ ๑  สลึงบ้าง  ๑  เฟื้องบ้าง  ผู้ที่ไม่มีเงินกลมโบราณก็จ้างช่างทำเป็นของเทียมเหมือนของจริง  เสื้อแต่ละตัวใช้กระดุมมากน้อยตามขนาดตัวของแต่ละบุคคล  ขนาดธรรมดาใช้  ๓๒  เม็ด  คิดเป็นน้ำหนักเงินหนัก  ๘  บาท  ติดเรียงเป็นแถวยามตามตัวตั้งแต่คอถึงสะเอว  เสื้อผ้าที่ใช้นุ่งห่ม  ทอและตัดเย็บย้อมเองทั้งนั้น  สีที่ใส่ย้อมก็ใช้สีธรรมชาติ  คือรากไม้ต้นไม้  ดอกไม้  ผลไม้  เช่นรากยอ  ต้นฝาง  ดอกคำฝอย  ลูกมะเกลือ  เป็นต้น
          เมื่อ เวลาเป็นเด็ก  หญิงใช้กำไลมือกำไลเท้า  กำไลมือ  “เรียกว่ากองแหน”  ชายใส่กำไลเท้าทำด้วยเงินและทอง  มีทั้งชนิดกลวงชนิดตัน  ชนิดกลวง  “เรียกว่ากำไลข่ง”  ชายเมื่อโตมีอายุได้ประมาณ  ๑๕-๑๖  ปี  ก็เลิกใช้สำหรับหญิงเมื่อโตเป็นสาวหรือแต่งงานแล้วก็เลิกใช้  เรื่องนี้จะดูเหมือนจะถือเป็นประเพณี  ซึ่งจะได้กล่าวไว้ในเรื่องของการแต่งงาน
          ทั้ง ชายและหญิง  เมื่อโกนผมไฟแล้ว  ชายก็โกนผมไปจนกระทั่งโตเป็นหนุ่มจึงไว้ผมส่วนหญิงไว้ผมจุก  พอโตเริ่มเป็นสาวอายุประมาณ  ๑๔-๑๕,๑๖  ก็ไว้ผมยาวทรงตุ๊กตาไทยเรียกว่าผูกผม  “สำเนียงเป็นผุผม” และใช้เชือกผูกมัดผมจริง ๆ วิธีผูกคือหวีผมมารวมไว้ข้างหน้าให้หมด แล้วรวมผมกับตอนที่ติดกับศีรษะมารวมกันใช้เชือกผูกมัดไว้ เสร็จแล้วเอาพาดไปไว้ทางข้างหลัง ปล่อยให้ยาวลงไปตามลำตัว ส่วนข้างหน้าหวีให้เรียบแผ่กว้างออกไปเท่าขนาดหน้าผากหรือใบหน้าของเจ้าของ เวลาเอาผมพาดไปทางข้างหลัง ก็ใช้ผ้าดำม้วนกรม ๆ นี้รองหนุนผมตรงที่เหนือหน้าผาก คือตอนที่ผมพับพาดไปข้างหลังนั้น ผมจะได้แผ่กว้างออไปเท่ากับหน้าผากหรือใบหน้า แล้วเอาหนามเม่นชนิดแข็งกลัดไว้ที่ตรงกลางศีรษะ  เพื่อจะไม่ให้ผมเคลื่อนไปมา  หนามเม่นนี้บางคนใช้เงินทำ  ซึ่งมีช่างเงินรับจ้างทำ  ทางปลายกลมเรียวแหลม  ทางโคนเป็นแปดเหลี่ยมสลักลายต่างๆ เพื่อความสวยงาม  เรียกว่าหนามเม่นเหมือนกัน  หนามเม่นเงินนี้  จะใช้ไปจนกระทั่งแต่งงานแล้วจึงเลิกใช้  หญิงสาวที่มีทรงผมแบบนนี้  จะถือว่าเป็นการประกาศตัวเองว่าเธอเริ่มจะโตเป็นสาว  หรือเป็นสาวรุ่นแล้วก็น่าจะได้
          เด็ก มีอายุได้  ๑๗-๑๘  ปี  จัดว่าเป็นสาวขนาดกลาง  จะต้องทำทรงผมอีกแบบหนึ่ง  “เรียกว่าโค้งผม” วิธีทำก็ทำเหมือนกับสาวรุ่นทุกอย่าง ต่างกันแต่ไม่ปล่อยปลายผมลงไปตามตัว ต้องเอาปลายผมขึ้นมาไว้ข้างบน วิธีทำ คือหยิบเอาผมซึ่งปล่อยลงไปตามตัวทางข้างหลังค่อนข้างไปทางปลายนิดหน่อยขึ้น มา แล้วทำผมส่วนกลางระหว่างบนศีรษะกับที่มือจับให้เป็นรูปโค้งคือเป็นวงกลม  แล้วเอาผมตรงที่พับบนศีรษะทับผมตอนที่มือจับไว้  ให้ปลายผมยื่นออกจากที่ผมทับชี้ออกไปทางขวาส่วนโค้งอยู่ทางซ้าย  ปลายผมที่ชี้ออกไปใช้น้ำมันทาให้ติดกันเป็นเรียวแหลม  หญิงสาวที่ทำทรงผมแบบนี้  เป็นการประกาศตนเองไปในตัวว่าเป็นสาวขนาดกลาง  พร้อมที่จะมี    ความรักความใคร่ในเพศตรงข้ามได้และพร้อมที่จะแต่งงานแล้วด้วย
           เมื่อมีอายุ  ๒๐  ปีขึ้นไป  จัดว่าเป็นสาวเต็มตัวหรือเป็นสาวใหญ่  สาวแก่  จะต้องทำผมอีกแบบหนึ่ง  คือเอาผมทั้งหมดไปขมวดเป็นกระจุกไว้ที่กลางศีรษะ  คล้าย ๆ  จุกกระเทียม  “เรียกว่าเกล้าผม”  หรือ  “เกล้าผมจุกกระเทียม”  (สำเนียงเป็นหอดเก้า  หรือหมอคำเก้า)  และต้องปักหนามเม่นด้วย  ถ้ามีการมีงานผู้มีฐานะดีก็ใช้ปิ่น  “เรียกว่าปิ่นเกล้า”  เมื่อแต่งงานมีสามีแล้วก็เลิกปักปิ่น  แต่ถ้าใช้หนามเม่นเงินก็ต้องเลิกใช้หนามเม่นเงินอีกด้วย  ส่วนหญิงสาวที่มีอายุไม่เกิน  ๒๐  ปี  ถ้าแต่งงานมีสามีแล้วก็ต้องเกล้าผมและไม่ใช้หนามเม่นเงิน  ไม่มีปักปิ่นเหมือนกัน  หญิงสาวที่ทำผมแบบนี้  ก็ทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้ว  คือเป็นการประกาศตัวเองว่าเธอเป็นสาวเต็มที่แล้ว  พร้อมที่จะแต่งงานได้ทุกเมื่อ


การฝึกหัดทอผ้า
          สมัย เมื่อรัฐบาลยังไม่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา หญิงสาวไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือกันเลย  เมื่อเจริญวัยใหญ่โตขึ้นพอที่ช่วยพ่อแม่ทำการทำงานได้  ก็ช่วยพ่อแม่ทำการทำงานทุกอย่าง  ตามแต่พ่อแม่จะมอบหมายให้ทำ  เช่น  ตักน้ำ  ตำข้าว  เลี้ยงน้อง  เป็นต้น  เมื่อว่างจากการงานส่วนมากเป็นเวลากลางคืนก็ฝึกหัดทำฝ้ายตามกรรมวิธีการทำ ฝ้ายที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น  ใครมีงานฝ่ายชนิดไหนทำ  ก็นำฝ้ายพร้อมด้วยเครื่องอุปกรณ์การทำฝ้ายมารวมจับกลุ่มกันทำเป็น  พวก ๆ  แต่ละพวกก็มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน  คือหญิงรุ่นเล็ก  หญิงรุ่นเริ่มเป็นสาวหญิงรุ่นสาว  วิธีทำคือจุดไฟไว้ตรงกลางแล้วนั่งล้อมวงกันทำ  มือก็ทำไปปากก็คุยกันไปอย่างสนุกสนาน  ถ้ามีชายรุ่นราวคราวเดียวกันมาเที่ยวและคุยด้วย  ก็ยังเพิ่มความสนุกสนานมากขึ้นอีก  งานทำฝ้ายรู้สึกว่าจะไม่ได้ผลเท่าไรนัก  ดูเหมือนจะเอาทำฝ้ายเป็นเครื่องบังหน้า  มาร่วมกันก็ทำเพราะมุ่งจะมาคุยเล่นกันเพื่อความสนุกสนานมากกว่า  จึงไม่มีใครเกียจคร้านมาร่วมกันทำ  เมื่อรับประทานอาหารเย็นเสร็จ  ต่างคนก็ต่างรีบมา  ใครมาถึงก่อนก็จุดไฟไว้คอยเพื่อน  ไม่การเกี่ยงงอนเอารัดเอาเปรียบกัน  ส่วนพื้นสำหรับจุดไฟนั้น  เข้าก็พร้อมใจกันไปหามาจากป่าในเวลากลางวัน  เป็นไม้ไผ่แห้งตายซาก  “เรียกว่าหลัว”  ไปเอาคราวหนึ่ง ๆ  ก็ใช้ได้หลายวัน  การร่วมกันทำฝ้ายเช่นนี้  “เรียกว่าลงข่วง”  ส่วนหญิงรุ่นสาวใหญ่ซึ่งมีความชำนาญในการทอผ้าแล้ว  ก็ทอผ้าอยู่บนบ้านบ้าง  ใต้ถุนเรือนบ้างสุดแล้วแต่จะไปตั้งที่ทอผ้าไว้ที่ไหนก็ทอที่นั้น
           หญิงสาวส่วนมากอายุอยู่ในราว  ๑๖-๑๗  ปี  ต้องได้ฝึกหัดทอผ้าตามกรรมวิธีข้างต้นนั้นต่อจากนี้ก็จะต้องเริ่มฝึกหัดทอ ผ้ากันอย่างเอาจริงเอาจังต่อไป  คือเริ่มฝึกหัดทำเชิงผ้าซึ่งมีลวดลายต่าง ๆ  “เรียกว่าซิ่นตีนจก”  ความจริงเริ่มฝึกหัดทอเฉพาะตีนจก  แต่เอาตัวผ้าซิ่นไปเรียกรวมเข้าด้วยจึงเรียกว่าซิ่นตีนจก  คำว่า  “จก”  ในที่นี้  หมายถึงอาการที่ใช้ขนเม่นชนิดที่แข็งแยกเส้นได้ยืนของหูกสอดหรือล้วนลงไปตาม ด้ายยืนที่แยกนั้น ควักเอาด้ายหรือไหมซึ่งอยู่ข้างล่างขึ้นมาข้างบน แล้วแยกด้ายยืนที่อื่นกดเส้นด้ายหรือไหมซึ่งควักขึ้นมานั้นลงไปข้างล่างอีก  ทำเช่นนี้จนตลอดกว้างของด้ายยืนเพื่อให้เป็นลวดลายความต้อง  แล้วทอสลับกันไปจนกว่าจะเสร็จเป็นตีนผ้าซิ่น  เมื่อทอเสร็จแล้วก็ทอตัวผ้าซิ่นซึ่งมีสีและลวดลายเหมาะสมกันตามที่กำหนด กฎเกณฑ์ไว้เป็นคู่กันสำหรับตีนชนิดนั้น ๆ  เสร็จแล้วก็เอาตีนและตัวผ้าซิ่นมาเย็บติดต่อกันเข้าเป็นผ้าซิ่นสำเร็จรูป  ใช้นุ่งได้เลย  เรียกว่าผ้าซิ่นตีนจก  หญิงสาวจะต้องผ่านการฝึกหัดทอผ้าซิ่นตีนจกนี้ด้วยกันทุกคน  เป็นอันว่าหญิงสาวทุกคนจะต้องมีผ้าซิ่นตีนจก  แล้วเก็บไว้สำหรับนุ่งในเวลามีงานออกหน้าออกตาเป็นครั้งเป็นคราว  ไม่ใช่นุ่งพร่ำเพรื่อ  ส่วนมากจะใช้นุ่งในเวลาไปทำบุญที่วัด  ใครไม่มีผ้าซิ่นตีนจกนุ่งก็จะต้องอายเพื่อนฝูงเข้ากับเพื่อนฝูงไม่สนิท  เพราะส่อแสดงตนว่าเป็นคนขี้เกียจคร้านไม่เอาการเอางาน  แม้แต่บรรดาพวกหนุ่ม ๆ  ก็ไม่สนใจจะมองเขาอีกด้วย  เนื่องด้วยการทอผ้าซิ่นตีนจกนี้  ต้องใช้ความเพียรพยายามและความละเอียดลออมาก  ทั้งต้องใช้เวลาทอนานมากด้วย  ดังนั้น  ผ้าซิ่นตีนจกนี้จึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้นุ่งว่า  เป็นคนขยันหมั่นเพียรได้  ฝึกหัดทอผ้าซิ่นตีนจกแล้วมีความรู้ความสามารถที่จะทอผ้าอย่างอื่น ๆ  ได้ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป  และมีความเป็นสาวโดยสมบูรณ์แล้วพร้อมที่จะแต่งงานมีเย้ามีเรือน  และจะเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีด้วย
           เมื่อหญิงสาวแต่งงานแล้ว  ก็เลิกนุ่งผ้าซิ่นตีนจก  ไม่นุ่งต่อไปอีกเลย  เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นประเพณีอีกหนึ่งอย่าง  ซึ่งทำให้เราทราบว่าหญิงสาวที่นุ่งผ้าซิ่นตีจกนั้นยังไม่ได้แต่งงาน  เหมือนการปักปิ่นและเป็นสาวโดยสมบูรณ์พร้อมที่จะแต่งงานได้  แต่ในสมัยปัจจุบันนี้จะถือเป็นกฎเกณฑ์เช่นนั้นไม่ได้แล้ว
          ผ้าซิ่นตีนจกมีลายถึง  ๙  อย่าง  มีชื่อเรียกว่าหน่วย  แต่ละหน่วยก็มีลายเฉพาะของหน่วยและมีลายประกอบของแต่ละหน่วยอีกเช่นเดียว กัน  ส่วนมากใช้ลายประกอบเหมือน ๆ  กัน  ที่ใช้ต่างกันคือใช้ลายประกอบเฉพาะของแต่ละหน่วยก็มี  ทั้งนี้สุดแต่ผู้ทำผู้ใช้จะชอบลายประกอบชนิดไหน  เป็นอันว่าผ้าซิ่นตีนจกนี้มีถึง  ๙  ลาย  แต่ละชนิดจะต้องนำไปติดต่อกับผ้าซิ่นซึ่งมีสีและลายเหมาะสมกัน  ซึ่งมีกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  เพื่อให้ผ้าซิ่นมีความสวยงามขึ้นมี  ๙  หน่วยนั้น  มีชื่อเรียกดังนี้ 
    • หน่วย  ๔  ขอ
    • หน่วย  ๘  ขอ
    • หน่วยเครือน้อย
    • หน่วยเครือกลาง
    • หน่วยเครือใหญ่  (เคือเหย่อ)
    • หน่วยน้ำอ่าง
    • หน่วย  ๑๒  หรือ  ๑๒  หน่วยตัด
    • หน่วย  ๑๖
    • หน่วย  ๒  ห้อง
          บรรดา ลวดลายในการทอผ้าต่าง ๆ  ดูเหมือนจะรวมอยู่ในลายผ้าซิ่นตีนจกนี้ทั้งหมด  ถึงแม้จะไม่มีลวดลายรวมอยู่ครบทั้งหมด  แต่ก็คงจะเป็นวิธีประมวลความรู้ในการทอผ้าทำลวดลายต่าง ๆ  ไว้ในลายผ้าซิ่นตีนจกนี้  เพราะหญิงสาวที่ได้ฝึกหัดทำผ้าซิ่นตีนจกแล้ว  ก็ทอผ้าอย่างอื่นซึ่งมีลวดลาย ต่าง ๆ ได้เลย และมีความรู้ความชำนาญในการทอผ้าด้วย  ทั้งไม่ต้องมีการฝึกหัดในเรื่องการทอผ้าอะไรอีกต่อไป  หากมีความสงสัยอะไรก็สอบถามเมื่อได้รับคำแนะนำแล้วก็ทำได้  ต่อจากนี้ก็ทอผ้าตามลำพังเอง  และหญิงสาวทุกคนก็ไม่จำเป็นจะต้องฝึกหัด ทอผ้าซิ่นตีนจกให้ครบทั้ง  ๙  อย่าง  ฝึกหัดทอเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างก็พอ  ส่วนหญิงสาวที่ต้องการมีผ้าซิ่นตีนจกนุ่งหลายผืน  และหญิงสาวที่นานได้แต่งงาน  อาจฝึกหัดทอหลาย ๆ  อย่างก็ได้
           ส่วนหญิงสาวที่มีฐานะค่อนข้างดีหน่อยถ้ามีความหวังว่า  ตัวเองจะต้องได้แต่งงานแน่นอนส่วนมากก็จะต้องเตรียมการทำผ้าไว้  เมื่อแต่งงานแล้วก็นำออกมาให้สามีใช้ทันที ผ้าที่จะเตรียมทอไว้คือ
         1.   ผ้านุ่งจูงกระเบนสีต่าง ๆ  (ผ้าพื้น)
         2.   ผ้าขาวม้าตาขาวแดงและตาขาวดำ  แต่ก็ไม่เป็นสีดำสนิทแท้  เพราะใช้ด้ายแดง้อมสีคราม  ”เรียกว่าผ้าขาวม้าตาอิด”
         3.   ผ้าเช็ดตัว  เรียกว่าผ้าเช็ดหน้า  กว้างขนาด  ๑๘ - ๒๐ นิ้ว  ด้ายยืนสีขาว  ตรงกลางทอด้วยด้ายสีขาว  จึงเป็นผ้าสีขาวล้วน  ส่วนสองข้างทอด้วยด้ายสีต่าง ๆ และทอเป็นลายรูปช้างบ้าง  รูปม้าบ้าง  พร้อมด้วยลายประกอยต่าง ๆ  มีชายเป็นลุย  ถือว่าเป็นผ้าเช็ดหน้าชั้นดีของท้องถิ่นนั้น
         4..  ผ้าห่ม  ด้ายยืนเป็นไหมสีขาว  ทอด้วยด้ายแดงด้ายดำสะลับกัน  และทอเป็นลายดูเหมือนจะเรียกลายดอกพริกไทย  ถือว่าเป็นผ้าห่มชั้นดีเหมือนกัน  “เรียกว่าผ้าขิด”
           เมื่อ รัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติการประถมศึกษาแล้ว  เด็กหญิงทุกคนก็ต้องเข้าโรงเรียนเพื่อเรียนหนังสือ  จึงไม่มีโอกาสได้ช่วยพ่อแม่ทำการทำงานเหมือนสมัยก่อน  การฝึกหัดทำฝ้ายก็ไม่ได้ฝึกหัดเมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว  จึงได้เริ่มฝึกหัดทำฝ้าย  แต่ก็ไม่ได้ฝึกหัดกันอย่างจริงจัง  ฝึกหัดเพียงทอผ้าได้เท่านั้น  ไม่ถึงกับมีความชำนิชำนาญ  ส่วนการฝึกหัดทอผ้าทำลวดลายต่าง ๆ  ซึ่งหญิงสาวทุกคนจะต้องฝึกหัดทอกัน  เช่น กี่ฝึกหัดทอผ้าซิ่นตีนจก  ก็เป็นอันเลิกกันไม่มีการฝึกหัดกันอีก  หญิงสาวสมัยปัจจุบันนี้  ไม่มีใครทอผ้าซิ่นตีนจกได้เลย  ผู้ที่จะทอผ้าซิ่นตีนจกได้ก็เป็นคนมีอายุในวัย  ๕๐ – ๖๐  ปีแล้ว แต่ก็มีเพียงไม่กี่คน เมื่อคนรุ่นนี้ล่วงลับไปหมดแล้ว  ศิลปะการทอผ้าซิ่นตีนจก  ซึ่งเป็นรากฐานองการทอผ้าซึ่งมีลวดลายต่าง ๆ  ก็จะต้องสูญสิ้นไปด้วย
            สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  เมื่อเสด็จกลับจากตรวจการคณะสงฆ์เมืองสวรรคโลกแล้ว  ได้ทรงตรัสถึงเลี้ยงชีพของชาวบ้านหาดเสี้ยว  อำเภอหาดเสี้ยว  ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์  ความว่า
             “เฉพาะอำเภอหาดเสี้ยว วัดที่ได้ทอดพระเนตรในอำเภอนี้ นอกจากวันโพธิ์ไทร เป็นวัดที่ยังไม่มีโบสถ์บ้าง มีแล้วยังไม่ได้ผูกพัทธสีมาบ้าง มีเสนาสนะ ฝากกระดานมุงกระเบื้อง และภูมิฐานกว้างสะอาดแต่มีพระน้อยไม่ครบคณะสงฆ์
               คนในอำเภอนี้  มีความประพฤติกลมเกลียวกันดี  ทั้งฝ่ายวัดและฝ่ายบ้าน ๆ  การหาเลี้ยงชีพผู้ชายทำไม้และทำนาบ้านนั้น  ใช้ผ้าที่ทอนั้นโดยมาก  ข้าราชการบางท่านใช้ผ้าทอที่นั้นตัดเสื้อนอกก็มี  น่าจะบำรุงการทอผ้าให้ดีขึ้น
การตีเหล็ก  ตีเงิน  ตีทอง
          การ ตีเหล็ก  ตีเฉพาะเครื่องมือเครื่องใช้ภายในครอบครัว  คือ เครื่องมือสำหรับทำไม้  เช่น  กบ  สีว  ขวานชนิดต่างๆ  ผึ่ง  (คำว่า  “ผึ้ง”  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้หมายความว่า  ชื่อเครื่องมือสำหรับถากชนิดหนึ่ง  รูปคล้ายจอบ  ชาวไทยพวนเรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า  “ระแนะหรือ  ระแมะ”  สำหรับใช้ถากหรือขุดเรือมาด  รูปคล้ายจอบแต่พับริมทั้งสองข้างเป็นขอบสูงประมาณครึ่งนิ้ว  ด้ามยาวประมาณ  ๑  ฟุต)  เครื่องมือสำหรับขุดดินฟันหญ้า  เช่น  จอบ  เสียม  มีด  พร้าชนิดต่างๆ  และเครื่องมือสำหรับทำครัว  เช่นมีด  กระต่ายสำหรับขุดมะพร้าว
           ใยสมัยต่อมามีคนนิยมใช้ขวาน  มีด  พร้า  จอบ  เสียม  ที่ทำขึ้นในท้องถิ่นนี้มากขึ้น  จึงได้พากันทำเป็นอุตสาหกรรมประจำบ้าน  แล้วนำไปขายในเทศกาลงานวัดต่างๆ  บ้าง  มีผู้มารับซื่อไปขายในท้องถิ่นต่างๆ  บ้าง  นอกจากนี้ยังมีผู้มาทำตามความประสงค์ของผู้จ้างบ้าง  แม้ปัจจุบันก็ยังมีผู้ทำกันอยู่  แต่มิได้มีการคิดค้นคว้าที่จะทำให้รวดเร็วขึ้น  หรือเรียกตามสำนวนใหม่ว่า  ไม่มีการพัฒนากันเลย  เคยทำกันมาอย่างไรก็ยังทำกันอยู่อย่างนั้น  ดังนั้นการทำแต่ละครั้งจึงล่าช้า  ไม่ทันกับความต้องการของคน  ถ้ามีการคิดค้นคว้าหาวิธีทำให้รวดเร็วขึ้น  ก็จะเป็นการทำรายได้ให้แก่ช่างเหล็กในท้องถิ่นนี้มากยิ่งขึ้น
            ตีเงิน  ตีทอง  เนื่องด้วยชาวไทยในท้องถิ่นนี้  ใช้เครื่องประดับตกแต่งร่างกายซึ่งทำด้วยเงินและทอง  ตามที่กล่าวไว้ในเรื่องการแต่งกาย  บรรดาช่างเงินช่างทอง  ชาวไทยพวนเรียกการทำของช่างเงินช่างทองว่า ตีเงิน  ตีทอง  ข้าพเจ้าจึงได้ตั้งหัวข้อไว้เช่นนั้น  และช่างเงินช่างทองในท้องถิ่นนั้นก็ทำเฉพาะเครื่องประดับตกแต่งร่างกายของ ชาวไทยพวนในท้องถิ่นนี้เท่านั้น  ช่างเงินก็รับจ้างทำเฉพาะกำไลมือกำไลเท้า  ช่างทองก็รับจ้างทำสร้อยคอสร้อยมือ  และต่างหู  “เรียกว่ากระจอน” และแหวนชนิดต่างๆ


 

 การที่ชายหญิงจะอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากัน  ฝ่ายชายต้องไปสู่ขอฝ่ายหญิง  เมื่อหาได้วันดีฤกษ์ยามดีแล้ว  ฝ่ายชายต้องจัดเฒ่าแก่ไปสู่ขอหญิง  เฒ่าแก่ที่ไปสู่ขอต้องไปเป็นคู่คือ  ๒-๔  คน  และเป็นคนประพฤติดีมีศีลธรรม  มีครอบครัวมีลูกเต้าแล้ว  อยู่ครองกันด้วยความราบรื่นดีไม่เป็นร้างไม่เป็นหม้าย  เมื่อเจรจาสู่ขอเป็นที่ตกลงกันแล้ว  ฝ่ายชายก็กำหนดนัดหมายวันที่จะให้เฒ่าแก่ไปอีกครั้งหนึ่ง  เฒ่าแก่ไปครั้งที่สองนี้  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  คงจะไปตกลงเรื่องวันแต่งงานให้ฝ่ายหญิงทราบเป็นการแน่นอน  จะถือว่าเป็นการไปมั่นก็ดูกระไรอยู่  เพราะที่นำไปก็ไม่มีราคาค่างวดอะไร  จึงขอฝากผู้รู้ไว้พิจารณาด้วย  การไปสู่ขอครั้งแรกนี้  “เรียกว่าไปเจาะสาว”
           การไปสู่ขอครั้งนี้มีสิ่งของไปด้วย  คือ  หมาก  ๒  ไหมมัดติดกัน  หมากนี้ในภาคกลางดูเหมือนจะไม่มีเพราะไม่เคยเห็น  และคงไม่มีใครทราบว่าเป็นหมากชนิดไหน  ส่วนมากมีอยู่ที่อำเภอลับแล  จังหวัดอุตรดิตถ์  “เรียกว่าหมากเชือก”  คือหมากลูกหนึ่งผ่าออกเป็น  ๕-๖  ซีก  ซีกหนึ่งใช้รับทานคำหนึ่ง  แล้วใช้เชือกปอร้อยตรงกลาง  โดยใช้เหล็กแหลมนำก่อนประมาณเชือกละ  ๑๕-๒๐  คำ  แล้วตากให้แห้ง  “เรียกว่าหมากไหมหนึ่ง”  ผูกติดกัน  ๒  ไหมเรียกว่า  หมาก  ๒  ไหม  จะห่อยาเส้นมีจำนวนห่อตามที่ฝ่ายหญิงเรียกร้อง  ห่อยาต้องใช้ฝ้ายมัด  ไม่ใช้ตอกมัดเหตุผลที่ไม่ใช้ตอกมัด  เพราะเราถือเป็นประเพณีว่า  สิ่งที่จะมาใช้ในพิธีแต่งงาน  ต้องมีชื่อและความหมายในทางที่เป็นสิริมงคล  หมายความว่าตอกว่าตี  เช่น ตอกลงไป  ตีให้เข้ากัน  ซึ่งได้แก่การตอกตะปูตีตะปู   เมื่อถึงวันที่กำหนดนัดหมายกันไว้  ฝ่ายชายจะขัดเฒ่าแก่ไป  เฒ่าแก่ที่ไปคราวนี้เป็นหญิงมีสามีแล้ว  มีความประพฤติดีมีศีลธรรม  เป็นคนผัวเดียวเมียเดียว  ไม่เป็นร้างไม่เป็นหม้าย   และไปเป็นคู่  ๔  คน  หญิงสาวหาบห่อยา  ๓  หาบ  ๓  คน  เฒ่าแก่สะพายย่ามใส่หมาก  ๒  ไหม ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น และใต้  ๑  คู่มัดติดกัน  (เรียกว่าไม้โค้งด้วนมัดติดกัน  กระเทียม  ๔  หัว  มัดเป็น  ๒  มัด  ๆ  ละ  ๒  หัว  แล้วมัดติดกันอีกครั้งหนึ่ง  เกลือ  ๒  ห่อมัดติดกัน  ห่อยา  ๒  ห่อมัดติดกัน  สิ่งของที่จัดใส่ย่ามให้เฒ่าแก่สะพายไปนี้  ถือเป็นเคล็ดว่า  ที่มัดติดกันขอให้คู่บ่าวสาวมีความรักกัน  อยู่ปกป้องครองกันยืนยาวจนแก่เฒ่า  อย่าได้มีจิตใจเหินห่างเลิกร้างกัน  และขอให้มีความรุ่งเรืองสว่างไสวเหมือนอย่างใต้ที่จุดไฟ  ขอให้หอมเงินอย่างกระเทียม  จงจะหมายถึงความหอมคือเกียรติคุณ  ชื่อเสียงคุณความดีที่คนนำไปสรรเสริญในที่นั้น  ๆ  ขอให้มีความเค็มเหมือนอย่างเกลือ  เรื่องความเค็มมีความหมายได้สองอย่าง  คือทั้งทางโลกละทางธรรม  ทางโลกขอให้เป็นคนรู้เท่าทันคน  อย่าได้เสียรู้เสียเปรียบใคร หากจะมีคนมาคิดเอารัดเอาเปรียบ  แม้จะทำเล่ห์อุบายมาอย่าง ๆ  ไรก็ตาม  ก็รู้เท่ารู้ทันและมีกลอุบาย  วิธีทำกับเขาพอเหมาะพอสมกันอย่างที่เรียกว่า  “เกลือจิ้มเกลือ”  คือ เค็มต่อเค็มเข้าหากัน  ทางธรรมขอให้เป็นทางมั่นคงอยู่ในความดีของคน  คือ เคยประพฤติความดีมาอย่างไร  ถึงแม้จะไปอยู่ที่ไหน  ก็ให้ประพฤติความดีอยู่อย่างนั้นตลอดไป  ไม่ละทิ้งความดีที่เคยประพฤติมาเสีย  ให้เหมือนอย่างพระพุทธภาษิตที่ว่า “จงรักษาความดีของตนไว้  ดังเกลือรักษาความเค็ม”  เกลือไม่ละทิ้งความเค็มเลย  ถึงแม้จะเก็บไว้ที่ไหน  หรือเอาไปประสมกับวัสดุสิ่งของอะไรก็ตาม  ก็แสดงความเค็มให้ปรากฏอยู่เสมอ  ส่วนหมากและยาเป็นของสำหรับรับทานและต้องรับแขก  คงจะเป็นเครื่องเตือนใจว่า  เมื่อมีเย้ามีเรือนคือเป็นพ่อบ้านแม่เรือนแล้ว  จงทำไว้ประจำบ้านเสมออย่าให้ขาด  เมื่อไปถึงก็มอบให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิง  ซึ่งเป็นหญิงเหมือนกันคอยต้อนรับอยู่  เมื่อรับแล้วก็จัดหญิงนำไปแจกให้แก่ฝ่ายหญิงจนทั่วกัน  เป็นทำนองคล้ายกับมาบอกให้ทราบว่าจะแต่งงานลูกสาวในวันนี้วันนั้น  ส่วนญาติที่ได้รับห่อยา  ก็ห่อของเช่น  พริก  ถั่ว  งา  เกลือไปให้  ๒  เท่า  เช่นได้รับ  ๑  ห่อ  ก็ห่อไปให้  ๒  ห่อ  เมื่อญาตินำของมาให้หมดแล้ว  เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงนี้  “เรียกว่า  ถามห่อยา”
           วันแต่งงาน  “เรียกว่าวันก่าวสาว” ฝ่ายชายจะต้องจัดขันหมาก ๑ ขัน แต่ไม่ใช่ขันโตก “เรียกว่าพานตีนสูงหรือขันโตก” สิ่งของที่จัดใส่พาน คือ 
               ๑. หมาก  ๔  ชิ้น  ๆ  ละ  ๔  คำ  คัดตัดหมากเชือกเป็น  ๔  ชิ้น  ๆ  ละ  ๔  คำ  “เรียกว่าหมาก ๔ ก้อน ๆ ละ ๔ คำ”
               ๒. เต้าปูน  ๒  เต้า  เต้ายา  ๒  เต้า
               ๓. พลู  ๔  ใบ  สีเสียด  ๔  คำ  ใช้มีดตัดให้ติดกัน  อย่าให้ขาดออกจากกัน
               ๔. มีดน้อย  ๔  เล่ม  ติดกันวางบนพาน  “เรียกว่ามีดฮั่วมโฮง” มีดนี้จัดขึ้นไว้สำหรับใช้ในพิธีแต่งงานโดยเฉพาะ ที่ว่าติดกันนั้น คือ คำฝัก ๒ฝักติดกัน
ใช้ผ้าคลุมให้คนอื่นไปพร้อมกับเฒ่าแก่  และจัดขันหมากอีกครั้งหนึ่ง  จัดใส่กระบุง  ๒  ใบ  ให้คนหาบไป  “เรียกว่าหาบหัวหมาก”  ของที่จัดใส่หาบ  คือ
               ๑.  หมาก  ๒  มัด ๆ ละ  ๑๐  ไหม  คือ  ๑๐  เชือก
               ๒. ชะลอมเล็ก ๆ  สำหรับใส่ไข่  ๒  ฟอง  ๑  ใบ  ชะลอมนี้เป็นรูปกลมไม่เหมือนชะลอมเลยที่เดียว  แต่สานเป็นรูปยาวตาโปร่ง  เหมือนตาชะลอม  เมื่อสานพอแต่ความต้องการแล้ว  แบ่งไม้ที่เหลือตรงกึ่งกลางตามทางยาวออกเป็นสองส่วน  แล้วแบ่งแต่ละส่วนตรงกึ่งกลางออกเป็นสองส่วนอีก  แล้วโน้มปลายทั้งสองข้าง  ตัดไม้ที่ยาวซึ่งไม่ต้องทั้งเสีย  เสร็จแล้วใส่ไข่  ๒  ฟอง  รวบสองข้างเข้าหากัน  แล้วมัดติดกันให้เรียบร้อย  “เรียกว่าหับไข่”
               ๓.  ตีนแห  ๑  ตีน  ตีนแหทำด้วยตะกั่วรูปลักษณะเหมือนโซ่  แต่ห่วงตีนแหกลม
               ๔.  ถุงใส่งา  ๒  ถุง  มัดให้ติดกัน  “เรียกว่าไท่งา”
               ๕.  หม้อนึ่ง  ๑  ใบ  ไหนึ่งข้าวหนึ่งไห
                ๖.  ตะเกียบเงิน  ๑  คู่  ตะเกียบทอง  ๑  คู่  ตะเกียบเงินทาด้วยปูนขาว  ตะเกียบทองทาด้วยขมิ้นชัน  “เรียกว่า ถู่เงิน ถู่ทอง”  เรื่องตะเกียบนี้ ไม่ปรากฏว่าคนไทยเราเผ่าไหนใช้กันเลย ประเพณีแต่งงานที่มีตะเกียบด้วยนี้  จึงเป็นเรื่องที่ควรจะได้พิจารณาว่าเป็นมาอย่างไร  ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ดูว่า มีเหตุผลอะไรหรือที่เอาตะเกียบมาใส่ขันหมากด้วย  ก็ได้รับคำตอบว่า  ไม่ทราบพ่อแม่ทำมาอย่างไรก็ทำตามไปอย่างนั้น  เป็นอันว่าไม่ทราบถึงเหตุผลของท่านผู้ที่ริเริ่มทำนาแต่ดั้งเดิม
           ในขณะที่เขียนเรื่องนี้  ข้าพเจ้าก็เกิดความคิดเห็นขึ้นมาว่า  จำพวกคนที่ใช้ตะเกียบซึ่งชาวไทยพวนเคยอยู่ใกล้ชิด  ก็มีชาวจีนและชาวญวน  สมัยเมื่อชาวไทยอยู่ในดินแดนจีนหรือเมื่ออพยพมาอยู่เมืองพวน  แขวงเมืองเชียงขวางในประเทศลาว  ก็อยู่ใกล้อาณาเขตติดต่อกับญวน  อาจจะได้พบได้เห็นตะเกียบหรืออาจจะได้เคยใช้มาแล้วในสมัยเมื่ออยู่ในดินแดน ประเทศจีนก็ไม่สามารถจะทราบได้  และตะเกียบนี้ต้องใช้คู่กันเสมอ  ถ้าขาดคู่แล้วก็ใช้ทำประโยชน์อย่างเดิมไม่ได้  หรือจะใช้สามอันก็จะยุ่งยากในการใช้งาน  สองอันคู่กันหยิบง่ายและสะดวกดีกว่า  ด้วยเหตุนี้ท่านที่เป็นเจ้าของแบบเจ้าแผน        เจ้าขนบประเพณี  จึงเห็นว่า  น่าจะนำเอามาใช้เป็นเคล็ดลับหรือ คติเตือนใจ  สำหรับชายหนุ่มหญิงสาวที่แต่งงานกัน  เพื่อจะได้อยู่ครองกันยั่งยืนนาน  ไม่แตกแยกกันเป็นเพื่อนทุกข์เพื่อนสุขกัน ก็จะมีความสุขในการครองเรือนอย่างสมบูรณ์  เหมือนตะเกียบสองอันจับจองได้สะดวก  และทั้งหญิงและชายจะไม่คิดนอกใจไม่เอาคนที่สามเข้ามาแทรกแซง  เพราะจะเกิดความยุ่งยากไม่มีความสงบสุขในระหว่างครอบครัว  หรือจะถือเป็นเครื่องเตือนใจว่า  เมื่อแต่งงานแล้วจงตั้งหน้าช่วยกันทำมาหากินด้วยความขยันหมั่นเพียร  เพื่อให้มีความมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทองมากมาย  และให้ได้ใช้ตะเกียบเงินตะเกียบทองกระมัง  ส่วนชาวไทยพวนซึ่งอยู่ในประเทศไทยจังหวัดอื่น  ๆ  จะใช้กันหรือไม่ข้าพเจ้าไม่ทราบ  ถ้าไม่ใช่ก็จะมีทางสันนิฐานได้ว่า  อาจจะลืมประเพณีเดิมเสีย  หรืออาจ        จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น  เพราะไม่ใช่ของคนไทยก็เลิกใช้ไม่เอามาใส่  การเลิกประเพณีเก่าที่เห็นว่าล้าสมัย  แล้วสร้างประเพณีที่เห็นว่าดีและเหมาะสมกับกาลสมัยขึ้นมาใหม่  ย่อมเป็นของธรรมดาที่คนเราทุกยุคทุกสมัยกระทำกัน  ไม่ต้องดูอื่นอยู่ไกลดูแต่เพียงการรดน้ำคู่บ่าวสาวในสมัยปัจจุบันนี้เถิด  ก็มีขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่  ๔  นี้เอง  สมัยก่อนนี้พระเจ้าพระสงฆ์เป็นผู้จัด เวลาเจริญพระพุทธมนต์ที่เรือนหอ  เรียกว่าชัดน้ำพระพุทธมนต์  รดด้วยขันจอกเป็นการใหญ่  เปียกชุ่มโชกทั้งบ่าวสาว  ยังแถมเพื่อเจ้าบ่าวเจ้าสาวก็พลอยเปียกด้วย
                ๗.  ห่อหมกไก่  ห่อหมกปลา  “เรียกว่าหมกไก่  หมกปลา  หรือเมาะไก่  เมาะปลา”  ข้าวต้มผัด  กล้วย  เผือก  ๑  คู่  มัน  ๑  คู่  อ้อย  ๑  คู่  จัดใส่หาบให้เรียบร้อย  ให้คนหาบไปพร้อมกับเฒ่าแก่  และดาบ  ๒  เล่ม  จัดให้คนสะพายไป  ๒  คน  ไปพร้อมกับเฒ่าแก่  เดินข้างหน้าคนหนึ่งไปข้างหลังคนหนึ่ง  ดาบ  ๒  เล่มที่นำไปด้วยนี้มีเหตุผลว่า  เพื่อป้องกันขันหมาก  เกรงว่าจะมีคนมาแย่งชิงขันหมาก
           เฒ่าแก่  “เรียกว่าพ่อเซ้อ” จัดไปเป็นคู่ ๔-๖-๘-๑๐ คน เมื่อได้ฤกษ์งามยามดีเฒ่าแก่ก็นำขันหมากไป เมื่อไปถึงบ้านเจ้าสาวแล้ว เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าสาวก็ให้คนนำขันหมากซึ่งจัดเช่นเดียวกันกับฝ่ายของเจ้า บ่าวออกมาตั้งเคียงกัน ต่างฝ่ายต่างก็เชิญให้นับทานหมากของกันและกัน แล้วเฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวก็กล่าวมอบเงินค่าต่าง ๆ 
               ๑  เงินค่าตัวซึ่งกำหนดไว้ตามประเพณีของสาวแต่บ้าน   ๔-๖-๘-๑๒  บาท
               ๒   เงินค่าน้ำนม  ๑  สลึง  เข้าใจว่าคงจะเป็นเงินค่าน้ำนมของมารดา ก็เรียกร้องเอาพอเป็นเท่านั้นเอง  ถ้าคิดเป็นค่าน้ำนมสำหรับเลี้ยงดูจริง ๆ แล้วก็คงจะมากกว่านี้หลายสิบเท่า
               ๓  เงินค่าสำหงับกับข้าว  ๒  หาบ  ตามธรรมเนียมพ่อแม่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องจัดสำรับไปด้วย  ๒  สำรับ  เข้าใจว่าคงจะเอาไปเลี้ยงเฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าสาว  เหมือนกับขันหมากกระมัง  ถ้าไม่จัดไปต้องถูกเรียกเงิน  ๒  บาท 
               ๔  เงินค่าควาย  ๔  บาท  ตามธรรมเนียมฝ่ายเจ้าบ่าว  จะต้องนำควายไปด้วย  ๑  ตัว  “เรียกว่าควายช่อนล่าง”  ถ้าไม่นำไปด้วยต้องถูกเรียกเงินค่าควายอีก “เรียกว่าเงินค่าควายช่อนล่าง” 
               ๕  เงินค่าสายลุงสายตา  ๒  บาท  ไม่ทราบว่าหมายความว่าอย่างไร ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  คงจะหมายถึงเงินสำหรับจัดของขวัญให้เฒ่าแก่กระมัง  หากจะถือว่าการจัดของขวัญให้เฒ่าแก่  เป็นหน้าที่ของฝ่ายเจ้าสาวก็จริง  แต่เมื่อพิจารณาถึงวิธีแต่งงานของชาวไทยพวนแล้ว  รู้สึกว่าเมื่อชายหญิงตกลงปลงใจจะเป็นทองแผ่นเดียวกันแล้ว  ต่างฝ่ายต่างก็มีไมตรีจิตเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน  เมื่อฝ่ายไหนให้สิ่งของอะไรแก่อีกฝ่ายหนึ่งแล้ว  ฝ่ายที่ได้รับของก็ต้องให้ของตอบแทนพอคู่ควรกัน  การเลี้ยงแขกต่างฝ่ายต่างก็จัดเลี้ยงด้วยกัน  เช่นขันหมากต่างฝ่ายต่างก็จัดมาเลี้ยงซึ่งกันและกัน  แม้สำรับกับข้าวเช่นเดียวกัน  ถึงแม้จะทราบกันดีว่า  เมื่อไปบ้านเจ้าสาว  ฝ่ายเจ้าสาวก็ต้องจัดการเลี้ยงดูเป็นธรรมดา ถึงอย่างนั้น  ฝ่ายเจ้าบ่าวก็ต้องจัดสำหรับไปด้วย  ๒  สำรับพอเป็นพิธี  ถ้าไม่จัดไปก็ต้องถูกเรียกเงินค่าสำรับ  ๒  บาท  ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น  เงินจัดของขวัญให้เฒ่าแก่  ก็คงจะออกเงินร่วมกันจัดเช่นเดียวกัน  นี้เป็นเพียงความคิดเห็นของข้าพเจ้าผู้เดียว
           นอกจากนี้  ยังมีกรณีพิเศษที่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องเพิ่มเงินให้แก่ฝ่ายเจ้าสาวอีก  คือ
           ๑.  ถ้าฝ่ายเจ้าสาวมีพี่ชายพี่สาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน  จะมีสักกี่คนก็ตามซึ่งยังไม่ได้แต่งงาน  เจ้าสาวแต่งงานก่อนพี่ชายพี่สาว  ฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องถูกเรียกเงินให้แก้พี่ชายพี่สาวของเจ้าสาวอีก  ทั้งนี้สุดแล้วจะตกลงกัน  สมัยก่อนเข้าใจว่าคงจะให้กันพอเป็นพิธี  แต่สมัยนี้เรียกกันเป็นจำนวนเงินคนละร้อยบาท  เรียกว่าเงินแข็งพี่ชายพี่สาว  “สำเนียงเป็นเงินอ้ายเงินแข็งเอ้ย”
           ๒.  ถ้าฝ่ายเจ้าสาวยังไม่เคยแต่งงานเลย  คือยังเป็นสาวบริสุทธิ์  ส่วนเจ้าบ่าวเป็นพ่อร้างพ่อหม้าย  ฝ่ายเจ้าบ่าวก็จะต้องเพิ่มเงินให้แก่ฝ่ายเจ้าสาวเป็นพิเศษอีกเช่นเดียวกัน  จะเพิ่มให้อีกเท่าไร  ก็สุดแล้วแต่จะตกลงกัน  “เรียกว่าเงินต่อหมีด”เจ้าบ่าวต้องไปถึงบ้านเจ้าสาว   ในระยะเวลาพอเหมาะพอดีกันกับเฒ่าแก่มอบเงิน เสร็จหรือไม่ในระยะเวลามอบเงินจวนจะเสร็จ  เมื่อคณะเจ้าบ่าวไปถึงก็ไม่ต้องทำพิธีอะไรอีก  เพราะเฒ่าแก่จัดกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ตอนนี้ก็มีการเลี้ยงอาหารกันเท่านั้น  เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว  เฒ่าแก่และคณะเจ้าบ่าวก็กลับ  สิ่งของที่นำกลับไปด้วยคือ  พานขันหมาก  หาบขันหมาก  ดาบ  ๑  เล่ม  ส่วนเจ้าบ่าวเมื่อกลับไปแล้ว  ถ้ามีธุระจำเป็นจะขึ้นไปบนบ้านเรือนของตนก็ขึ้นไปเสียถ้าไม่ขึ้นไปหรือขึ้น ไปแล้วกลับลงมา  จะขึ้นไปบ้านอีกไม่ได้เป็นเวลา  ๓  วัน  จนกลัวฝ่ายภรรยาจะจัดทำพิธีให้กลับบ้านตามประเพณีก่อนทั้งนี้  ไม่ทราบว่าเหตุผละอะไร
          เมื่อ การแต่งงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ฝ่ายทางบ้านสะใภ้จะต้องเชิญญาติที่ใกล้ชิดทั้งสองฝ่าย  มาร่วมรับประทานอาหารกับแขกและสะใภ้อีก  ๒  เวลา  เวลาเย็นของวันแต่งงาน  และเวลาเช้าของวันรุ่งขึ้น  ส่วนญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย  ก็ถือโอกาสให้ศีลให้พรด้วย  “เรียกว่าเชิญลุงตามาร่วมพาแลงพางายกับลูกเขือยลูกเภ้อ หลานเขือยหลานเภ้อ”  คำว่า  “พาแลง”  หมายถึงสำรับซึ่งจัดรับประทานอาหารในเวลาเย็น  “พางาย”  หมายถึงสำรับซึ่งจัดรับประทานอาหารในเวลาเช้า  การเชิญลุงตามาร่วมพาแลงพางาย  ก็คือเชิญมาร่วมรับประทานอาหารมื้อเย็น  และยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่ง  ลูกเขตจะผลัดผ้านุ่งบนบ้านเรือนไม่ได้เป็นอันขาด  เพราะถือว่าถ้าผลัดบ้านเรือน  เป็นการไม่เคารพยำเกรงพ่อตาแม่ยายต้องลงไปผลัดผ้านุ่งข้างล่าง  จะเป็นใต้ถุนเรือนหรือที่ใดที่หนึ่งก็ได้
          ใน วันที่สามจากวันแต่งงาน  ฝ่ายทางบ้านสะใภ้จะต้องจัดทำขนมลูกเขยกลับบ้านเพื่อนำไปฝากพ่อผัวแม่ผัวและ ญาติพี่น้อง  ขนมที่จัดทำคือ  ขนมเปียกปูน  “เรียกว่าข้าวปาดข้าวต้มพัด  ทั้งสองอย่างนี้ห้ามใส่มะพร้าว  และข้าวเกรียบข้าวแดงทอดน้ำมัน  (เค็มกับหวาน)จัดไปให้เพียงพอที่จะแจกจ่ายแก่ญาติพี่น้องฝ่ายผัวให้ทั่วถึง  และจัดใส่หาบให้หญิงสาวหาบตามไปในเวลาเย็นของวันที่สาม  ส่วนลูกเขยสะพายย่ามใส่ขนมเล็กน้อยเป็นทำนองว่า พี่สะใภ้ฝากไปให้แก่น้อง ๆ ของสามี  และสะพายดาบเล่มที่ยังไม่ได้นำกลับไปด้วย  เมื่อวันแต่งงานเดินมาเส้นทางไหน  ก็ให้เดินกลับเส้นทางนั้น  “เรียกว่าขืนฮอย”  เข้าใจว่าเป็นคืนฮอย  คือ คืนตามรอยเดิมที่ผ่านมา  นามเข้าเลยกลายเป็นขืนฮอยไป  เมื่อไปถึงบ้านพ่อผัวแม่ผัวแล้ว  หญิงสาวที่หาบของไปส่งพากันกลับ  ส่วนขนมที่ทำไปนั้น  พ่อผัวแม่ผัวก็จัดให้คนนำไปฝากญาติพี่น้องจนทั่วถึงกัน  ฝ่ายเขยก็นอนค้างอยู่ที่บ้านของตนหนึ่งคืน  ในวันรุ่งขึ้นบรรดาญาติพี่น้องที่ได้รับขนม  ก็พากันนำของมาให้เช่นห่อพริก  ห่อยา  ให้เพียงห่อเดียว  ไม่ให้เหมือนที่รับห่อยา  แล้วพ่อผัวแม่ผัวก็จัดใส่หาบให้หญิงสาวหาบตามไปส่ง  ซึ่งกลับในตอนเย็นวันนั้น
           หลังจากจัดทำพิธีให้ลูกเขยกลับบ้านแล้ว  แม่ผัวจะต้องหาโอกาสไปเยี่ยมลูกสะใภ้ให้ได้สักวันหนึ่ง  “เรียกว่าไปยามลูกเภ้อ”  ตราบใดที่แม่ผัวยังไม่ไปเยี่ยมลูกสะใภ้  ลูกสะใภ้ก็จะไปบ้านพ่อผัวแม่ผัวตราบนั้น หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ลูกสะใภ้จะขึ้นบ้านพ่อผัวแม่ผัวไม่ได้เป็นอันขาด เมื่อแม่ผัวไปเยี่ยมลูกสะใภ้แล้ว ลูกสะใภ้จึงจะไปเยี่ยมพ่อผัวแม่ผัวได้ และหลังจากนั้นไปมาหาสู่บ้านพ่อผัวเมียผัวได้เป็นปกติธรรมดา  การเยี่ยมที่ว่ามานี้ เป็นการเยี่ยมตามปกติธรรมดา ตามประเพณีลูกสะใภ้จะต้องไปเยี่ยมพ่อผัวแม่ผัวเป็นพิธีรีตองอีกครั้งหนึ่ง
           ประเพณีที่ลูกสะใภ้ไปเยี่ยมพ่อผัวแม่ผัวนี้  (เรียกว่ายามเฮือน)  ในการไปเยี่ยมไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ว่า  เมื่อแต่งงานกันแล้วเท่านั้นวันเท่านี้วันจึงจะไปเยี่ยม  ทั้งนี้  สุดแล้วแต่ลูกสะใภ้จะจัดทำสิ่งของที่จะไปเยี่ยมให้เสร็จก่อน  เมื่อเสร็จเมื่อไรก็ไปเมื่อนั้น  บางคนก็จัดทำเตรียมไว้ก่อนตั้งแต่ยังไม่แต่งงานก็มี   สิ่งของที่จะต้องจัดต้องทำซึ่งใช้เวลามากก็มี  ผ้านุ่ง  ผ้าซิ่น  ผ้าขาวม้า  เพราะต้องทอเองทั้งนั้น  ผ้าที่จะนำไปเยี่ยมนี้ก็เฉพาะพ่อผัวแม่ผัว  และญาติผู้ใหญ่ใกล้ชิด  คล้ายกับว่าจัดผ้าไปไหว้  และมีขนมทุกอย่างเหมือนที่จัดให้แก่สามีกลับบ้านเมื่อแต่งงานได้สามวันนั้น ด้วย  และจัดหญิงเป็นผู้นำไปคนหนึ่ง  เป็นหญิงที่มีสามีแล้ว  ไม่เป็นคนที่มีอายุมาก  คือนำไปเยี่ยมญาติของสามีทุกบ้าน  “เรียกว่าแม่เซ้อ”  การแต่งกายสำหรับผู้นำกับสะใภ้ มีกำหนดกฎเกณฑ์ดังนี้
          ๑.  ผู้นำ  นุ่งผ้าซิ่นตาเติบ  ซึ่งเป็นผ้าซิ่นสำหรับคนแก่นุ่งตามปกติ  แม้มีอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะนุ่งผ้าซิ่นนี้  การไปนำสะใภ้ไปเยี่ยมญาติก็ต้องนุ่งผ้าซิ่นนี้  ผ้าขาวม้าสีจะเป็นสีอะไรก็ได้ รัดอกผืนหนึ่ง  “เรียกว่าผ้าขะหัวสีแห้งอางหรือแห้งตู”  ผ้าขาวม้าแพรสีขาวเฉลียงบ่าพื้นหนึ่ง  “เรียกว่าผ้าขะหัวแพรขาวแผ้วโต่ง”   เครื่องประดับตกแต่งอย่างอื่น ๆ เช่นเครื่องทอง เพชรพลอยก็ประดับตามความเหมาะสมกับวัย
          ๒.  สะใภ้  นุ่งผ้าซิ่นตาเติบเช่นเดียวกับผู้นำ  ผ้าขาวม้าสีเหลืองรัดอกผืนหนึ่ง  ผ้าแพรสีขาวเฉลียงบ่าผืนหนึ่ง  เกล้าผมจุก  “เรียกว่าหอดเก้า”   ปักปิ่นเก้าหาง  เก้าคือเกล้า  สำเนียงพวนไม่มี  ล  กล้ำ  เครื่องประดับตกแต่งอย่างอื่น  ๆ   เช่น  สร้อย  สะพายแหล่ง  สร้อยข้อมือ  แหวน  ตุ้มหูระย้า”  ตามแต่จะมี  เป็นอันว่าแต่งกันอย่างเต็มที่
           จัดหญิงสาวสำหรับช่วยหาบของ  ให้พอเหมาะพอดีกับของมากหรือน้อย  หรือจำนวนญาติที่จะเยี่ยม  เพราะจะต้องหาบตามไปทุก  ๆ  บ้าน  อย่างน้อยสัก  ๗-๘  คน  เมื่อได้ฤกษ์งามยามดี  ผู้นำสะใภ้พร้อมด้วยหญิงสาวหาบของ  ก็พากันไปบ้านพ่อผัวแม่ผัว  มอบของอันเป็นส่วนของพ่อผัวแม่ผัวและของที่จะเยี่ยมญาติทั้งหมด  ให้แก่พ่อผัวแม่ผัวด้วยความเคารพนับ  ถือ  ต่อจากนี้เป็นหน้าที่แม่ผัวและญาติที่มาต้อนรับ  จัดของใส่หาบให้หญิงสาวหาบตามลูกสะใภ้ไป  จะไปเยี่ยมบ้านไหนบ้างเป็นหน้าที่ของบ้านผัวจะบอกให้ผู้นำพารับทราบไว้  เมื่อนำพาไปใกล้บ้านที่จะเยี่ยมหญิงสาวก็ส่งหาบให้ลูกสะใภ้หาบขึ้นบันไดไปบน บ้าน  ถ้าบ้านไหนเป็นญาติผู้ใหญ่ใกล้ชิด  ซึ่งมีผ้าไปเยี่ยมคารวะด้วย  สะใภ้จะต้องไปตักน้ำที่ท่าน้ำมาให้อีก  ๑  หาบด้วย  แต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปตักเอง  เพราะจะเสียเวลามากจะไม่มีเวลาพอไปเยี่ยมบ้านญาติอื่น ๆ อีก  จึงทำพอเป็นพิธีเท่านั้น  คือหญิงสาวที่ช่วยหาบของจะไปตักน้ำมาคอยไว้ที่บ้าน  ส่วนสะใภ้ก็เพียงแต่ไปเอาหาบน้ำที่บ้านนั้นหาบลงมาบันไดได้  หญิงสาวที่หาบน้ำไปคอยอยู่  ก็เทน้ำใส่หาบให้แล้วก็หาบขึ้นบันไดไปเทไว้ที่ตุ่มเท่านั้น  ส่วนหญิงสาวที่ช่วยหาบของนั้น  เมื่อหาบของใครว่างก็กลับไปหาบมาอีกทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะเยี่ยมญาติ หมด  จึงกลับมาบ้านพ่อผัวแม่ผัว  บ้านญาติที่จะจัดของไปเยี่ยมนั้น  จดเป็น  ๓  ประเภท  ดังนี้
          ๑  บ้านญาติผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด  เฉพาะผู้ใหญ่มีผ้าคนละ  ๑  ชุด  ขนม  ๑  หาบ
          ๒  บ้านญาติที่ห่างไกลหน่อย  ขนม  ๑  หาบ
          ๓  บ้านญาติที่ห้างไกลมาก  ขนม  ๑  ขอน  หรือขนม  ๑  กระบุง  เรียกว่า  ๑  ขอน
          ในระหว่างสะใภ้กำลังเยี่ยมญาติอยู่นั้น  ไปตอนบ่าย  ๆ  ทางบ้านพ่อผัวแม่ผัวบรรดาญาติที่ได้รับการเยี่ยมเยือนจากสะใภ้  ก็พากันนำเงินมาให้แก่พ่อผัวแม่ผัวมากบ้างน้อยบ้างตามสมควรแก่ฐานะของตน  แล้วพ่อผัวแม่ผัวก็จะได้รวบรวมมอบให้แก่สะใภ้ต่อไป  ทั้งนี้เข้าใจว่าเป็นการช่วยเหลือ  เพื่อให้ลูกหลานทั้งสองนำไปตั้งเนื้อตั้งตัวเป็นหลักเป็นฐานต่อไป  เมื่อเยี่ยมเสร็จแล้วก็กลับบ้านในเย็นวันนั้นๆ 



      เมื่อชายหญิงแต่งงานแล้ว ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องช่วยกันทำมาหากิน  เพื่อเลี้ยงครอบครัวและตั้งตัวให้เป็นหลักเป็นฐาน คือมีบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง  ด้วยเหตุนี้ คนโบราณจึงได้เรียกชายหญิงที่แต่งงานแล้วว่า “มีเย้ามีเรือน”  และเรียกสามีว่า “พ่อบ้าน” เรียกภรรยาว่า “แม่เรือน”  สำหรับชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว  จังหวัดสุโขทัย  เรียกอย่างตรง ๆ  ว่า  “เอาเมีย  เอาผัว  มีเมียมีผัว”  สามีภรรยาคู่ไหนถ้าพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย  มีความประสงค์จะให้ไปอยู่บ้านเรือนของท่าน  เพื่อท่านจะได้พึ่งพาอาศัยและเลี้ยงดูท่านในเวลาแก่เฒ่าชรา  ทั้งนี้พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายจะต้องตกลงกันก่อน  ถ้าพ่อแม่ของฝ่ายหญิงจะให้อยู่ในบ้านเรือนของท่าน  ทั้งสามีภรรยาก็อยู่ได้เลยโดยไม่ต้องทำพิธีรีตองอะไรอีก  เพราะเมื่อแต่งงานแล้วสามีก็อยู่บ้านเรือนของพ่อแม่ภรรยาอยู่แล้ว  การที่พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันในชายหญิง  อยู่บ้านเรือนของท่านนี้ เรียกว่า  “กินมูล”  เพราะว่าเมื่อท่านทั้งสองหมดบุญแล้ว  บ้านเรือนพร้อมทั้งที่ดินของท่าน  ก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกทั้งสองต่อไป
            ถ้าพ่อแม่ฝ่ายหญิงมีความประสงค์จะให้ลูกชายอยู่บ้านเรือนของท่านลูกสะใภ้จะ ต้องมาอยู่ด้วย  เพราะเขาทั้งสองเป็นสามีภรรยากันก็จำเป็นจะต้องอยู่ด้วยกัน   ในกรณีเช่นนี้  ถึงแม่พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายจะให้ทำความตกลงกันไว้แล้วก็ตาม  ตามประเพณีจะต้องทำพิธีขอลูกสะใภ้ด้วย  คือพ่อแม่ฝ่ายชายจะต้องจัดเฒ่าแก่ไปขอลูกสะใภ้กับพ่อแม่จองลูกสะใภ้  พิธีขอนั้นทำดังนี้
             เมื่อถึงวันฤกษ์งามยามดีตามที่ได้ตกลงกันไว้  พ่อแม่ฝ่ายหญิงก็จัดเฒ่าแก่ไปขอลูกสะใภ้กับพ่อแม่ของลูกสะใภ้  เฒ่าแก่ต้องเป็นหญิงมีสามีแล้วและเป็นหญิงที่มีอายุพร้อมทั้งมีคุณสมบัติ ตามที่กล่าวแล้วในเรื่องการแต่งงาน  “เรียกว่าแม่เซ้อ”  การจัดเฒ่าแก่ไปขอลูกสะใภ้นี้ พ่อแม่ฝ่ายชายจะต้องจัดสิ่งของใส่ย่ามให้เฒ่าแก่สะพายไปด้วย และจัดเด็กหญิงตอดตามไปด้วย ๑ คน สิ่งของที่จัดใส่ย่ามให้เฒ่าแก่สะพายไปนั้น คือ 
  1. ขี้ไต้  ๑  คู่  มัดติดกัน
  2. กระเทียม  ๔  หัว  มัดติดกันเป็นคู่  ๆ  แล้วมัดติดกันอีกครั้งหนึ่ง
  3. เกลือ  ๒  ห่อ  มัดติดกัน
  4. ขนม  ๒  ห่อ  มัดติดกัน
          ความ หมายของสิ่งของที่นำไปนี้  ได้อธิบายไปแล้วในเรื่องการแต่งงาน  ต่างกันอยู่อย่างหนึ่งคือขนม  เมื่อเวลาไปสู่ขอเพื่อจะแต่งงานเป็นห่อยา  เรื่องขนมคงจะไม่มีความหมายอะไร  เข้าใจว่าการทำพิธีขอกันในครั้งแรกนั้น  ลูกสะใภ้คงจะมีลูกมีเต้าแล้ว  การเอาขนมไปด้วยเพื่อเอาไปฝากหลานก็เป็นไปได้  และในวันที่เฒ่าแก่ไปขอนั้น  พ่อแม่ของลูกสะใภ้พร้อมด้วยญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดจะคอยต้อนรับอยู่  เมื่อเฒ่าแก่ไปถึงก็กล่าวทักทายปราศรัยซึ่งกันและกันตามธรรมเนียมแล้วก็ กล่าวขอลูกสะใภ้ด้วยถ้อยคำอันดีงามตามสมควร  เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ก็กำหนดนัดหมายวันที่จะมารับสะใภ้  แล้วเฒ่าแก่จะกลับ  พ่อแม่ของสะใภ้ต้องจัดของสามอย่างคือ   ขี้ไต้  กระเทียม  เกลือ  ซึ่งเฒ่าแก่นำมา  แต่เปลี่ยนใบตองห่อเสียใหม่ให้เรียบร้อยแล้วใส่ยามคืนให้เฒ่าแก่ไป
          ฝ่าย สะใภ้เมื่อพ่อแม่ตกลงปลงใจจะให้ไปอยู่บ้าพ่อผัวแม่ผัวแล้ว  ก็ขัดเตรียมข้าวของซึ่งจะนำไปใช้  เช่น  ผ้านุ่ง  ผ้าห่ม  เสื้อ  ที่นอน  หมอนมุ้ง  ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือนทุกอย่าง  และไปลาญาติพี่น้องที่เคารพนับถือ  ในวันที่จะไปบ้านพ่อผัวแม่ผัว  บรรดาญาติพ่อแม่พี่น้องนำสิ่งของมาให้  เช่น  หม้อข้าว  หม้อแกง  ถ้วย  โถ  โอ  ชามเป็นต้น  แล้วก็พากันคอยอยู่เพื่อส่งเสียก่อน  และช่วยกันจัดคนหาบของไปส่งตามสมควรด้วย  เมื่อถึงเวลาที่กำหนดนัดหมายไว้  เฒ่าแก่ซึ่งพ่อแม่ฝ่ายชายจัดให้ไปรับก็ไปถึง  เมื่อต่างฝ่ายต่างทักทายปราศรัยซึ่งกันและกันแล้ว  พ่อแม่ของสะใภ้กล่าวฝากฝังลูกสาวกับเฒ่าแก่  สองสามีภรรยาก็กราบไหว้ลาพ่อแม่ญาติพี่น้องที่มาส่งโดยทั่วถึงกันทุกคน  ในโอกาสนี้พ่อแม่และญาติพ่อแม่พี่น้องก็กล่าวสั่งสอนลูกสาวหลานสาว  และให้ศีลให้พรตามธรรมเนียม  เวลาที่สะใภ้ไปอยู่บ้านพ่อผัวแม่ผัวนี้  ตามประเพณีจะไม่เดินไปตัวเปล่า  จะต้องแบกเครื่องกรอด้ายและที่นั่งกรอด้ายไปด้วย  (ที่กรอด้ายเรียกว่าหลา  สำหรับปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นด้าย  และใช้ทำอย่างอื่น ๆ  อีกหลายอย่าง  ที่นั่งสำหรับกรอด้ายเรียกว่า “ตั่ง” สานด้วยหวาย  การนำไปก็ไม่ได้ถือไปด้วยมือ  ใช้คล้องที่หัวหลา  เรียกสั้น ๆ ว่า  “สะใภ้ต้องแบกหลากับตั่งไปด้วย”)  เมื่อพร้อมแล้วเฒ่าแก่ก็ลาพ่อแม่ของสะใภ้และญาติที่มาส่งทุกคน  แล้วพาสองสามีภรรยาพร้อมด้วยผู้ที่หาบของไปส่งลงจากเรือนไป  เมื่อไปถึงบ้านพ่อผัวแม่ผัวแล้ว  สองสามีภรรยาก็ไปกราบไหว้พ่อผัวแม่ผัวพร้อมญาติพี่น้องที่มาคอยต้อนรับอยู่ ทั่วทุกคน  พ่อผัวแม่ผัวก็กล่าวทักทายปราศรัยและให้ศีลให้พร  ต่อจากนั้นก็จัดหาอาหารมาเลี้ยงดูกันเสร็จแล้วต่างคนต่างก็พากันลากลับ  เสร็จพิธีเพียงเท่านี้ 
           ส่วนสามีภรรยาที่พ่อแม่ทั้งสองฝ่าย  ไม่ประสงค์ให้อยู่บ้านเรือนของท่าน  หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าไม่มีหวังจะได้กินมูลของพ่อแม่  สามีภรรยาคู่นี้  เมื่อแต่งงานแล้วก็จะต้องเริ่มเตรียมการปลูกบ้านสร้างเรือนเพื่อเป็นที่อยู่ อาศัยของคนต่อไป  พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายจะต้องช่วยเหลืออย่างเต็มที่  แต่ภาระหนักต้องอยู่กับพ่อแม่ฝ่ายหญิง  เพราะมาดำเนินการที่บ้านพ่อแม่ฝ่ายหญิง  หรือเรียกว่าบ้านพ่อตาแม่ยาย  (ชาวไทยพวน  บ้านหาดเสี้ยว  อำเภอศรีสัชนาลัยเรียกว่า  “พ่อเฒ่าแม่เฒ่า”  เมื่อมีลูกมีเต้าแล้วก็เรียกตามลูกว่า  “พ่อใหญ่-แม่ใหญ่”  ส่วนพ่อผัวแม่ผัวก็เรียกตามลูกว่า  “ปู่-ย่า”  เหมือนที่เรียกกันโดยทั่วๆ  ไป  แต่เดิมคำว่า  พ่อ-แม่  ข้างย่าด้วย  เป็น  “พ่อปู่-แม่ย่า” )  เมื่อเตรียมพร้อมทุกอย่างแล้ว  ก็หาฤกษ์งามยามดีปลูกเรือนตามที่กล่าวแล้ว  ในเรื่องเคหะสถานบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัยข้างต้น  ก็ต้องปลูกเพิงเป็นที่อยู่อาศัยในระยะเวลา  “ปลูกเรือนด้วย”  เรียกว่าลงยามเอาฤกษ์เอาชัย สามีภรรยาคู่นี้  เรียกว่า“ออกเรือน”
          เป็น ธรรมดาเมื่ออยู่กินกันได้ไม่นาน ภรรยาก็จะตั้งท้อง  เมื่อภรรยาตั้งครรภ์แล้ว  ประมาณ  ๔-๕  เดือน ใกล้จะคลอด  สามีจะต้องไปตัดฟืนไม้สะแกในป่าเพื่อใช้เป็นฟืนสำหรับอยู่ไฟ  และเลือกต้นขนาดประมาณเท่าแขน  ต้นที่เถาวัลย์พันต้นก็เอาแล้วขนมาตั้งเรียงกองไว้ที่หน้าบ้าน  พอภรรยาปวดท้องจะคลอด สามีต้องไปผลักกองฟืนให้ล้มลง  ผู้ที่ทำคลอดก็คือหญิงชาวบ้านที่มีอายุแล้ว  เรียกว่า “พ่อตำแย”   ซึ่งไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้ในเรื่องการทำคลอดเลย  พ่อตำแย ของคนไทยพวนเพียงเป็นผู้มีความสนใจในเรื่องนี้  เมื่อเวลามีคนไปทำคลอดก็ติดตามไปดู ใช้การสังเกตจดจำทำตามแบบโบราณสืบต่อๆกันมา เมื่อมีความสงสัยอะไรก็ถาม  แล้วทำคลอดตามที่ได้เห็นและได้ยินได้ฟังสืบต่อกันมาและการทำคลอดก็ไม่มีการ ตั้งราคาค่างวดอะไร  ทำคลอดด้วยจิตใจเมตตากรุณาในฐานะที่เป็นญาติและเป็นเพื่อนบ้านใกล้เรือน เคียงกัน  ส่วนแม่ของเด็กซึ่งเรียกว่าแม่ลูกอ่อนเมื่อแข็งแรงดีแล้ว  ก็ไปขอขะมาซึ่งจะได้กล่าวต่อไป  ส่วนการรักษาตัวของแม่ลูกอ่อน ก็ไม่มีตำหรับตำรากล่าวไว้  เพียงแต่ผู้ที่เคยมีลูกมีเต้าแล้วบอกเล่าและแนะนำให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้  แล้วก็ทำตามคำบอกเล่าและคำแนะนำสืบ ๆ  ต่อกันมา การคลลอดก็คลอดที่บ้านของตนเอง  ไม่ต้องไปคลอดที่บ้านของผู้ทำคลอดหรือบ้านของหมอตำแย เมื่อคลอดลูกแล้ว ก็จัดการดูแลแม่และลูกต่อไป สำหรับแม่ของเด็กให้รับประทานยา  ซึ่งมีส่วนประกอบเพียงสองอย่างคือเกลือกับน้ำมะขามเปียก  แล้วไปเอาฟืนที่สามีจัดหามาไว้นั้นมาจุดไฟ  จัดการทำพิธีให้แม่ของเด็กอยู่ไฟ   ระยะเวลาใน  ๓  วัน  ๓  คืนแรกต้องนั่งอยู่  ห้ามไม่ให้นอนราบลงกับพื้นเป็นอันขาด  ถ้าง่วงนอนต้องการจะหลับก็ให้นั่งหลับ  ดังนั้น
           จึงต้องจัดหาเก้าอี้หรือโต๊ะเล็ก ๆ  สำหรับวางแขน แล้วหมออบศีรษะลงที่แขนนั้น  หรือจะนั่งพิงก็สุดแล้วแต่จะสะดวกอย่างไหน  ทั้งนี้ด้วยถือกันว่าเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดขึ้นเบื้องบน  เมื่อจัดการจุดไฟเรียบร้อยแล้ว  สามีต้องไปหาปลามาสองตัวขนาดเท่า  ๆ  กัน  จะใช้ปลาอะไรก็ได้  ส่วนมากใช้ปลาดุกใช้ไม้เสียบให้ติดกัน  แล้วผูกหางแขวนห้อยหัวลงอย่างไว้บนเตาไฟนั้น  “เรียกว่าปลาคู่” ทั้งนี้เพื่อเหตุผลอะไรไม่มีใครทราบ  การอยู่ไฟเรียกว่าอยู่กำ  คำว่า  “กำ”  มีความหมายว่าอย่างไร  จะได้กล่าวให้ละเอียดในเรื่องประเพณีการกำต่าง  ๆ  ในตอนท้ายต่อไป  ในที่นี้จะกล่าวโดยย่อ  ๆ  คำว่า  “กำ”  ในที่นี้หมายความว่างดเว้น  คือในระหว่างการอยู่กำนี้  แม่ของเด็กจะต้องงดเว้นจากการรับประทานกับข้าวทุกอย่างเว้นแต่เกลืออย่าง เดียว    ต้องรับประทานข้าวกับเกลือเท่านั้นคือเอาข้าวมาคลุกกับเกลือแล้วปั้นเป็น ก้อนยาว ๆ“เรียกว่าข้าทู้”   แล้วเก็บไว้รับประทาน  เพื่อเปลี่ยนรสอาหารกฎทำข้ามต้มห่อด้วยใบแขมให้รับประทานบ้าง  การอยู่ไฟนี้  สำหรับลูกคนแรกต้องอยู่อย่างน้อยหนึ่งเดือน  แล้วต้องรับประทานข้าวกับเกลือเป็นเวลาหนึ่งเดือนเช่นเดียวกัน  สำหรับคนต่อ ๆ ไปก็อยู่พอสมควร  การให้รับประทานข้าวกับเกลือนี้  ดูเหมือนว่าเพื่อจะไม่ให้เป็นพิษเป็นภัยแก่แม่ของเด็กในระหว่างอยู่กำนี้ยัง มีเด็กอยู่อีก  เช่นการลงไปอาบน้ำที่แม่น้ำเป็นต้น  แต่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญเท่าไรนักจึงงดไว้ไม่กล่าวถึง
           สำหรับเด็ก  เมื่อจัดการเรื่องที่ควรจัดควรทำกับแม่ของเด็กเสร็จแล้ว  ก็จัดการกับสายสะดือเด็ก  “เรียกว่าตัดสายแห่”  วิธีตัดคือใช้ไม้ไผ่หรือไม้รวกที่มีคมตัดและใช้ถ่านสำหรับรองตัดด้วยเชื่อ ว่าสิ่งที่ใช้ตัดและรองตัดไม่มีเชื้อโรค  เมื่อตัดแล้วก็ล้างให้สะอาด  ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมีความสวยงาม  อันที่จริงล้างสายสะดือให้สะอาด  คงไม่ทำให้เด็กไม่มีความสวยงามขึ้นได้เข้าใจว่าคงจะล้างเพื่อเหตุผลอย่าง อื่น  แต่ยังนึกหาเหตุผลของท่านผู้ริเริ่มทำไม่ได้  เมื่อล้างแล้วก็เอาใส่ในกระบอกไม้ไผ่และเอาเกลือโรยนิดหน่อย  เมื่อทำธุระอย่างอื่นเสร็จเรียบร้อยแล้ว  สามีก็เอากระบอกไม้ไผ่ซึ่งใส่สายสะดือไปฝังไว้ที่ใต้บันไดสำหรับขึ้นเรือน  จะมีลูกไปอีกสักกี่คนก็เอาฝังไว้ที่ใต้บันไดแห่งเดียวกันทั้งหมด  ด้วยถือเป็นเคล็ดว่าเพื่อให้ลูกมีความรักและห่วงในบ้านเกิดเมืองนอนของตน  เมื่อตัดสายสะดือแล้วก็จัดการป้อนข้าวเด็ก  “เรียกว่าแกล้มข้าว”  ถ้าเด็กเป็นชายก็ให้ผู้ชายป้อน  ถ้าเป็นหญิงก็ให้ผู้หญิงป้อน  และต้องเป็นคนมีศีลธรรมมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดส่วนมากก็คือพ่อแม่ของเด็กนั้น เองเป็นผู้ป้อน  ๓  คำคือ  เอาข้าวไปแตะที่ริมฝีปากพอเป็นพิธีเท่านั้น  เมื่อเด็กได้มีอายุได้ประมาณ  ๓-๔  วันก็ทำการเจาะหูทั้งสองข้าง  เจาะทั้งชายและหญิง  “เรียกว่าบ่องหู”  เด็กอายุได้  ๑  เดือน  แม่ของเด็กก็เลิกอยู่ไฟ  “เรียกว่าออกไฟหรือออกกำ”  ในการออกไฟนี้  ต้องทำพิธีโกนผมไฟและทำขวัญเด็กด้วย  สิ่งที่จะต้องจัดหาและต้องทำในเรื่องการโกนผมไฟและทำขวัญเด็ก  คือ  จัดหากรรไกรและมีดโกน  น้ำพระพุทธมนต์ด้วยสำหรับผูกแขน  เวลาจะโกนผมให้ผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งเป็นผู้มีศีลธรรมเอกรรไกรขลิบให้ก่อน  (ถ้ามีพิธีสงฆ์ก็ควรให้พระสงฆ์ขลิบให้ก่อน)  แต่ก็ไม่ปรากฏว่าเคยมีพิธีสงฆ์เลย  ที่พูดไว้ก็เพราะว่าบ้านเมืองเจริญขึ้น  ต่อไปอาจจะคิดมีวิธีสงฆ์ด้วยก็ได้)  การทำขวัญต้องจัดสำหรับ  ข้าวต้มขนมหวาน  ๒  สำรับ  “เรียกว่าพาขวัญ  ๒  พา”  ไก่ต้ม  ๑  ตัว  ไข่ไก่ต้ม  ๒  ฟอง  หมอทำขวัญ  ๑  คน  เมื่อทำขวัญและโกนผมเสร็จแล้ว  เอาไข่ไก่  ๒  ฟองมาลอยน้ำแล้วอาบน้ำให้เด็ก  และต้องเอาไข่ไก่ลอยน้ำอาบให้เด็กเป็นเวลา  ๓  วัน  ทั้งนี้ด้วยถือเป็นเคล็ดว่า  เพื่อให้เด็กมีผิวพรรณขาวละเอียดเหมือยอย่างไข่  อันที่จริง  การอาบไข่ลอยน้ำแล้วอาบให้เด็ก  คงไม่ทำให้เด็กมีผิวพรรณขาวละเอียดขึ้นได้  อาจจะทำเพื่อเหตุอื่นก็ได้  เมื่ออาบน้ำเด็กเสร็จแล้วผู้เฒ่าผู้แก่ก็ผูกแขนแม่และเด็กเป็นการให้ศีลให้ พร  เสร็จแล้วก็จัดอาหารมาเลี้ยงกัน  เสร็จพิธี  เมื่อออกกำแล้วแม่ของเด็กก็รับประทานกับข้าวได้ทุกอย่าง  เอาปลาคู่ซึ่งย่างไว้นั้นมารับประทานด้วย  และต้องรับประทานยาต้มอีก  ๑  หม้อ  ซึ่งประกอบด้วยเครื่องยาจืด  รากไม้ต่าง  ๆ  เป็นตำหรับตำยาซึ่งเป็นที่ทราบกันในท้องถิ่นนั้น  ต่อจากนี้แม่ของเด็กจะต้องหาโอกาสไปขอขะมาผู้ทำคลอด  เพราะถือว่าผู้ทำคลอดได้มาถูกต้องสิ่งสกปรกโสโครกในร่างกายของตน  ไม่ใช่เป็นการตอบแทนพระคุณในการที่ท่านมาทำคลอดให้ และในการไปขอขะมาโทษนี้  บางคนก็มีสตางค์ไปด้วยหนึ่งเฟื้องคือ  ๑๒  สตางค์บ้าง  หนึ่งสลึงคือ  ๒๕  สตางค์บ้าง  บ้างคนก็ซื้อผ้าขาวม้ายาวขนาดเป็นผ้าห่มเฉลียงบ่าได้  ๑  ผืน  เพื่อให้ท่านใช้เป็นผ้าห่มเฉลียงบ่าไปรักษาอุโบสถศีลในวันพระ  เพราะผู้ทำคลอดเป็นคนมีอายุถือศีลกินเพลแล้ว
           การเลี้ยงลูก  เลี้ยงด้วยนมแม่และข้าวบดกับกล้วยน้ำหว้า  การให้นมเด็กที่ไม่มีกำหนดระยะกาลเวลา  เด็กร้องไห้เมื่อไรก็ให้ดื่มนมเมื่อนั้น  ถึงแม้เด็กจะไม่ร้องไห้  ถ้าเห็นว่าการให้เด็กดื่มนมเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว  ก็ให้เด็กดื่มนมก็มีบ้าง  ส่วนมากถืออาการร้องไห้ของเด็กเป็นระยะเวลาให้นม  เนื่องด้วยพ่อแม่ของเด็กเป็นชาวนา  ชาวไร่  ชาวสวน  ต้องไปทำงานนอกบ้านเสมอ  ๆ  เวลาแม่ของเด็กไปทำงานนอกบ้าน  ก็ให้เด็กหญิงซึ่งเป็นลูกหลานและย่ายายเลี้ยงดู  เวลาเด็กร้องไห้ก็ให้นึกว่าเด็กอยากดื่มนม  เพราะเคยปฏิบัติมาเป็นเช่นนั้น  เมื่อเป็นเช่นนี้  ก็ต้องไปขอนมแม่ลูกอ่อนซึ่งคลอดลูกในระยะเวลาใกล้เคียงกัน  ไม่ว่าเด็กจะคลอดก่อนหรือหลังเด็กรับประทาน  แม่ลูกอ่อนนั้นก็ให้เด็กรับประทานนมของตนด้วยความเต็มใจ  ไม่มีความรังเกียจเดียดฉันท์อย่างไร  เพราะการขอนมซึ่งกันและกันให้ลูกดื่มนี้ถือเป็นของธรรมดา  แต่ว่าการไปขอนมให้เด็กดื่มในครั้งแรก  ทุกคนจะต้องเอาสตางค์ไปด้วยหนึ่งสลึง  “เรียกว่าเอาเงินไปแข็ง”  ถ้าไม่เอาเงินไปด้วยน้ำนมจะไม่ออกให้เด็กดื่ม  และเอาเงินไปในครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น  ในครั้งต่อ ๆ ไปก็ไม่ต้องเอาไปอีก  สำหรับข้าวบดกับกล้วยน้ำหว้าให้รับประทานเป็นเวลา  ส่วนมากให้รับประทานวันละ  ๓  เวลา  เวลาเช้า  กลางวัน  เย็น  นอกจากสามเวลานี้แล้วก็ให้ดื่มนมแม่